Page 150 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 150

142 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          กระเบื้อง โบกซีเมนต์เสริมโคนเสาลงไปในสระ บูรณะซ่อมแซมครั้งที่สามใน พ.ศ.

          ๒๕๔๕ ส�านักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี เป็น
          หน่วยงานที่รับผิดชอบซ่อมแซมหอไตรและปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหน้าใช้
          งบประมาณ ๑,๗๑๐,๐๐๐ บาท

                     หอไตรนี้จัดเป็น ๑ ใน ๓ ของดีของเมืองอุบลตามค�าโบราณว่า
          “พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง” และยังได้รับรางวัลการอนุรักษ์

          สถาปัตยกรรมดีเด่น พ.ศ. ๒๕๒๗ อีกด้วย วิโรฒ ศรีสุโร (๒๕๔๐: ๔) ได้กล่าวถึง
          ลักษณะพิเศษของหอไตรนี้ว่า  “วิญญาณคงเป็นอีสานแต่สังขารยังเป็น
          บางกอก” หมายถึงทรวดทรงและอารมณ์ของตัวสถาปัตยกรรมยังคงด�ารง

          ความเป็นท้องถิ่นไว้ได้ แม้ว่าการตกแต่งทุกส่วนจะเป็นแบบภาคกลางก็ตาม
          กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจา

          นุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๐๔ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๒๔
               ๒.๓ วิหารศรีเมือง
                     เป็นศาลาการเปรียญสร้างในสมัยที่พระวิโรจน์รัตโนบล (พิมพ์

          นารโท) เป็นเจ้าอาวาส โดยรื้อหอแจกหลังเก่าที่สร้างสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล
          (รอด นนฺตโร) แล้วสร้างวิหารศรีเมืองขึ้นแทน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นวิหาร

          คอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ชั้น กว้าง ๑๕ ม. ยาว ๓๒ ม. ตามแบบแปลน
          ที่จ�าลองจากพระอุโบสถวัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร นายโกศล สันฑมาส
          อาจารย์โรงเรียนเทคนิคอุบลราชธานีเป็นผู้เขียนแบบแปลน ชั้นบนประดิษฐาน

          พระเจ้าใหญ่ศรีเมืองเป็นพระประธาน ผนังเขียนภาพพุทธประวัติ เวสสันดรชาดก
          และพุทธเจดีย์ส�าคัญในประเทศไทย ฝีมือของพระพนม สุธีโร (พงษ์อรัญ)

          และนายสมควร
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155