Page 61 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 61

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี  53


            ๕๕ ซม. สูง ๑๕๕ ซม. หนา ๑๑.๕ ซม. อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต

            มีข้อความ ๖ บรรทัด ประพันธ์เป็นฉันท์อนุษฏุภะจ�านวน ๓ บท กรมศิลปากร
            ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่มิได้อยู่ในความครอบครอง
            ของกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๙ หน้า ๑๓
            วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๓ (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ๒๕๕๕: ๗๐-๗๕) ได้มา

            จากถ�้าภูหมาไน อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
                        - จารึกวัดสุปัฏนารามหลักที่ ๒-๓ (อบ. ๕) วัสดุศิลาทรายสีแดง
            ศิลปะลพบุรี อักษรอินเดียใต้รุ่นที่ ๓ (ขอมโบราณ) ภาษาเขมร เป็นจารึกหลัก

            เดียวกันซึ่งแตกเป็น ๒ ส่วน หลักที่ ๒ เป็นส่วนบน หลักที่ ๓ เป็นส่วนล่าง
            (ตั้งกลับหัว) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ โดยเทียบเคียงกับศิลาจารึกเนิน
            สระบัวและศิลาจารึกวัดเสมาเมือง (บางท่านว่าอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖)

            เนื้อหาเป็นการอุทิศมหาวิหาร หลักที่ ๒ ขนาดสูง ๔๗ ซม. กว้าง ๗๔ ซม.
            หนา ๑๗ ซม. มีอักษร ๑๒ บรรทัด บรรทัดล่างสุดถูกปูนโบกทับ หลักที่ ๓ ขนาด
            สูง ๖๐ ซม. กว้าง ๖๗ ซม. หนา ๑๙ ซม. เหลืออักษรเพียง ๓ บรรทัด

            กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่มิได้อยู่ในความ
            ครอบครองของกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๙ หน้า
            ๑๓ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๓ (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ๒๕๕๕: ๙๙-๑๐๒)

                        พระครูขันติคุณาภรณ์ กล่าวถึงที่มาของจารึกวัดสุปัฏนาราม
            หลักที่ ๒-๓ ว่า “คุณตาสุ่ม แก่นสาร อายุ ๙๖ ปีซึ่งถึงแก่กรรมไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖
            เล่าว่าสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้มาจากวัดโพธิ์ศรี บ้านทุ่งใหญ่

            ต.บ้านไทย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ซึ่ง รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (๒๕๕๕: ๙๙)
            เห็นว่าค�าอ่านตรงกันกับจารึกบ้านขโมย เมืองขุขันธ์ ซึ่ง Aymonier รายงานไว้
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่าเป็นจารึกหมายเลข K.370 มีอักษร 21 บรรทัด เป็นไป

            ได้ว่าอาจจะเป็นจารึกหลักเดียวกันเมื่อแตกหักอักษรจึงขาดหายไป ๖ บรรทัด
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66