Page 63 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 63
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 55
แขวงจ�าปาสัก จึงเป็นไปได้ว่าเป็นศิลปะในยุคเดียวกันหรือมีอิทธิพลด้าน
รูปแบบต่อกัน เพราะ อ.พิบูลมังสาหารกับแขวงจ�าปาสักไม่ห่างไกลกันมากนัก
ลวดลายที่เป็นแบบถาลาบริวัตร คือ มกรสองข้างคายวงโค้ง ๒ วง
มีลายโค้งตัวมกร ๒ โค้งมาบรรจบกันที่วงกลมกลางทับหลัง ในลายโค้งไม่มี
ลวดลาย เหนือมกรมีภาพบุคคลนั่งชันเข่า ส่วนลวดลายแบบสมโบร์ไพรกุก
คือรูปมกรเต็มตัว ตัวมกรยาวเรียวหางเป็นใบไม้ม้วน มีใบไม้รูปสามเหลี่ยมอยู่
ระหว่างพวงมาลัยใต้โค้งท้องมกร มีฐานรองรับเท้ามกร ในวงกลมมีรูปสิงห์
แบบพื้นบ้าน (สมิทธิ ศิริภัทร์ และมยุรี วีระประเสริฐ ๒๕๓๓: ๖๒)
- พระคเณศศิลาทราย ศิลปะบาปวนตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๗ หน้าตักกว้าง ๔๔.๕ ซม. ฐานกว้าง ๒๙ ซม. สูงรวมฐาน ๗๒ ซม. น�ามา
จากวัดป่าพิฆเณศวร บ้านปากน�้า ต.กุดลาด อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่มิได้อยู่ใน
ความครอบครองของกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๙
หน้า ๑๔ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๓ (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ๒๕๕๕: ๑๐๔-๑๐๙)
- เสาประดับฝาผนังศิลาทราย ศิลปะลพบุรี ราวครึ่งหลังของพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๗ ขนาดกว้าง ๒๙ ซม. ยาว ๒๗ ซม. สูง ๑๑๘ ซม. น�ามาจาก
ปราสาทบ้านระแงง (ปราสาทศีขรภูมิ) ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ที่มิได้อยู่ในความ
ครอบครองของกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๙ หน้า
๑๔ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๓ (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ๒๕๕๕: ๑๑๐-๑๑๕)
- ตู้พระธรรมลายรดน�้าขาหมู ลงรักปิดทอง ศิลปะรัตนโกสินทร์
(ช่างพื้นถิ่นอีสาน) ขนาดสูงรวมขา ๒๐๘ ซม. ส่วนบนกว้าง ๘๐ ซม. ส่วนล่าง
กว้าง ๘๘ ซม. ขาสูง ๗๐ ซม. ลึก ๘๐ ซม. มีลิ้นชัก มุมขาตู้ประดับแผ่นไม้รูป
สามเหลี่ยมเขียนลายเครือเถา บานประตูเขียนลายกระหนกคาบนาคขบ
ผนังด้านซ้ายเขียนภาพมหาภิเนษกรมณ์ ด้านขวาเขียนลายต้นไม้สอดลายสัตว์