Page 15 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๗ (มิถุนายน ๒๕๖๔ - พฤษภาคม ๒๕๖๕) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 15

หน้า | 11
               1.2 โบราณสถานอูบมุง
                 1)  ที่ตั้ง
                     โบราณสถานอูบมุง หมู่ที่ 1 บ้านคูเมืองกลาง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
                 2)  พิกัดแผนที่
                    พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD        ลำดับชุด L7018    ระวาง 5939 II
                    แผ่นจังหวัดอุบลราชธานี      มาตราส่วน 1 : 50,000
                    พิกัดแผนที่ 48 PVB 854683    พิกัด UTM 48P 485414 E/ 1668357 N
                    LATITUDE 15° 05' 26.32" N   LONGITUDE 104° 51' 51.45" E
                 3)  เส้นทางเข้าถึง
                    จากที่ว่าการอำเภอวารินชำราบมุ่งหน้าทางทิศตะวันตก ประมาณ 500 เมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายเข้าสู่
            ถนนสายวารินชำราบ-กันทรลักษ์ (หมายเลข 2178) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงแยกบ้านทุ่งเกษม
            เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งเกษม ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงแยกบ้านคูเมือง เลี้ยวขวาไปทางบ้านคูเมือง ประมาณ
            4 กิโลเมตร จนถึงบ้านคูเมืองให้ใช้เส้นทางไปบ้านดอนผอุง ประมาณ 1 กิโลเมตร โบราณสถานอบมุง
                                                                          ู
            จะอยู่ทางขวามือ รวมระยะทางประมาณ 18.5 กิโลเมตร
                 4)  สิ่งสำคัญ
                    เป็นชื่อที่ชาวบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เรียกเนินดินที่อยู่ห่างลงมาทางด้าน
            ทิศใต้ของบ้านคูเมือง ประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งปรากฏซากของสิ่งก่อสร้างโบราณที่สร้างด้วยอิฐบนเนินดินลักษณะ
            ยาวรี ขนาดกว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตร สูงจากพื้นดินโดยรอบประมาณ 1 นอกจากอฐ
                                                                            ิ
            ที่เกลื่อนกระจายในพื้นที่แล้ว ยังพบชิ้นส่วนหินทรายอีกด้วย จากลักษณะน่าจะถูกขนย้ายมาจากแหล่งอื่น
                 5)  อายุสมัย
                    จากหลักฐานประเภทเศษอิฐที่พบบนเนินโบราณสถานอบมุง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซากของอโบสถ
                                                    ู
                                                                          ุ
            หรือวิหารในพุทธศาสนา ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 และถูกทิ้งร้างไป มากกว่าจะเป็นซาก
            โบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณ เพราะจากการศึกษาที่ผ่านมา ชุมชนโบราณบ้านคูเมืองมีพัฒนาการ
                                                                          ี
            มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมเขมรโบราณและวัฒนธรรมอสาน-
            ล้านช้าง โดยมีการทิ้งร้างพื้นที่เป็นบางช่วงเวลา (วสันต์ เทพสุริยานนท์ และสิริธิดา หอมชื่น, 2544: 125)
                 6)  การประกาศขึ้นทะเบียน
                    กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอูบมุงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 1533
            วันที่ 27 กันยายน 2479 และประกาศกำหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถานอูบมุง ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114
            ตอนพิเศษ 80ง วันที่ 12 กันยายน 2540 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 6 ไร่ 92.85 ตารางวา
                 7)  เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
                    องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และสำนักศิลปากรที่ 9
            อุบลราชธานี กรมศิลปากร ร่วมกันดูแลรักษาโบราณสถานแห่งนี้
                 8)  ลักษณะการใช้ประโยชน์
                    โบราณสถานอูบมุง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งเรียนรู้ทางมรดก
            วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

                                                          วารสารวัฒนศิิลปสาร ปีที่่� 17
                                                                           ำ
                                                            ย่านชุุมชุนเก่่า...อำำาเภอำวาริินชุาริาบ  13
                                                             ่
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20