Page 10 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๗ (มิถุนายน ๒๕๖๔ - พฤษภาคม ๒๕๖๕) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 10
หน้า | 6
ภาพประติมากรรมอรรธนารีศวร จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
ที่มา: พระอรรธนารีศวร-ฐานข้อมูลศิลปกรรมในประเทศไทย. (ออนไลน์)
1.1 โบราณสถานโนนแก
1) ที่ตั้ง
โบราณสถานโนนแก อยู่ที่บ้านคูเมือง หมู่ 7 ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
2) พิกัดแผนที่
พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD ลำดับชุด L7018 ระวาง 5939 II
แผ่นจังหวัดอุบลราชธานี มาตราส่วน 1 : 50,000
พิกัดแผนที่ 48 PVB 867688 พิกัด UTM 48P 486776 E/ 1668890 N
LATITUDE 15° 05' 43.75" N LONGITUDE 104° 52' 36.95" E
3) เส้นทางเข้าถึง
จากที่ว่าการอำเภอวารินชำราบมุ่งหนาทางทิศตะวันตก ประมาณ 500 เมตร ถึงสี่แยกเลี้ยวซาย
้
้
เข้าสู่ถนนสายวารินชำราบ-กันทรลักษ์ (หมายเลข 2178) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงแยกบ้านทุ่งเกษม
เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งเกษม ประมาณ 3 กิโลเมตร จะถึงแยกบ้านคูเมือง เลี้ยวขวาไปทางบ้านคูเมือง
ประมาณ 4 กิโลเมตร จนถึงบ้านคูเมืองให้ใช้เส้นทางไปที่ไปเชื่อมกบถนนหมายเลข 24 ทางทิศตะวันออกประมาณ
ั
1.5 กิโลเมตร จะมีป้ายทางซ้ายมือบอกทางเข้าโบราณสถานโนนแก เลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง ประมาณ
200 เมตร จะถึงโบราณสถานโนนแก รวมระยะทาง 19.2 กิโลเมตร
4) สิ่งสำคัญ
โบราณสถานโนนแก ประกอบไปด้วยอาคารจำนวน 4 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง
ที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 40x50 เมตร มีบันไดทางเข้าที่กึ่งกลางกำแพงด้านทิศตะวันออก
(วสันต์ เทพสุริยานนท์และสิริธิดา หอมชื่น, 2541)
อาคารหมายเลข 1 มขนาด 9x12.5 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง ปูบนระดับพื้นดิน 2 ชั้น
ี
มีแนวบันไดขึ้นทางทิศตะวันออก ที่มุมและขอบแนวศิลาแลงมร่องรอยหลุมเป็นช่องสี่เหลี่ยม สันนิษฐานว่าใช้
ี
สำหรับตั้งเสารองรับเครื่องหลังคา โดยแต่ละหลุมอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร สันนิษฐานว่าอาคารหลังน ้ ี
อาจเป็นวิหารโถง หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา
8 วารสารวัฒนศิิลปสาร ปีที่่� 17
ย่านชุุมชุนเก่่า...อำำาเภอำวาริินชุาริาบ
่
ำ