Page 23 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๗ (มิถุนายน ๒๕๖๔ - พฤษภาคม ๒๕๖๕) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 23
หน้า | 19
ั
พระชัยหลังช้างหรือพระชัยวฒน์
พระพุทธรูปสำคัญซึ่งพระมหากษัตริย์โปรดให้สร้างเมื่อมีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามราชประเพณ ี
โบราณ มีพุทธลักษณะพิเศษต่างจากพระพุทธรูปทั่วไป เรียกว่า พระชัย หรือ พระไชย พระชัย หรือ พระไชย
มีลักษณะที่ต่างจากพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อม พระหัตถ์ซ้ายถือด้ามพัดแทนการวางพระหัตถ์
บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทอดบนพระเพลาเกือบจรดพื้น นั่งขัดสมาธิเพชร มีฉัตร 5 ชั้นกั้นถวาย
มีการสันนิษฐานว่า พระชัยน่าจะมีที่มาจากพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งหมายถึงการชนะมาร แต่พระชัยวัฒน ์
ู
หมายถึงการชนะอุปสรรค ภยันตราย และมีชัยเหนืออริราชศัตร พระชัย หรือ พระไชย ในรัชสมัยพระบาทสมเดจ ็
ิ่
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามเพมว่า “พระไชยวัฒน์” (คำว่า “ไชย” แต่เดิมใช้ไม้มลาย ภายหลังแก้เป็น
ั
ใช้ไม้หันอากาศ) โดยเปลี่ยนพระนามมาเป็น “พระชัยวัฒน” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หว
์
่
จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชพิธีต่าง ๆ ที่อัญเชิญพระชัยวัฒน์ไปด้วย
คือ (ส.พลายน้อย 2564)
ิ
- พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะอัญเชิญพระชัยมาตั้งที่หน้าพระพุทธสิหงค ์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็เช่นเดียวกัน
- พระราชพิธีโสกันต์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะอัญเชิญพระชัยมาตั้งที่ซ้ายและขวาของพระพุทธสิหิงค์
- พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จะอัญเชิญพระชัยมาประจำรัชกาลต่าง ๆ มาร่วมพิธี
- พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว มักจะอัญเชิญพระชัยมาด้วย
- พิธีลอยพระประทีป มีเรืออนันตนาคราช แต่งเครื่องประทีปทรงพระชัย
วารสารวัฒนศิิลปสาร ปีที่่� 17
ย่านชุุมชุนเก่่า...อำำาเภอำวาริินชุาริาบ 21
ำ
่