Page 18 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 18
วิหาร และทรงดำรงอยู่ในเพศบรรพชิต เป็นเวลา ๑๕ วัน จึงทรงลาสิกขาเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๙๙
ในระหว่างทรงพระผนวช พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการ
เพื่อทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติ
พระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างสมบูรณ์เป็นที่พอพระราชหฤทัย
จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระนาง
เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙
การครองสิริราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙
แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
ิ
ชาติไทย โดยนับตั้งแต่ที่เสด็จขึ้นครองสิรราชสมบัติ พระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อบำบัดทุกข์
บำรุงสุขแก่ปวงชนชาวไทย สมดังที่ทรงสัญญาไว้ในพระราชหฤทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ ‘ทิ้ง’ ข้าพเจ้า
แล้ว ข้าพเจ้าจะ ‘ละทิ้ง’ อย่างไรได้” หลังจากทรงได้ยินใครคนหนึ่งร้องตะโกนขึ้นในวันที่เสด็จ
จากประเทศไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ล้วนครอบคลุมศาสตร์
และลักษณะงานหลากหลายสาขา อันแสดงให้ประจักษ์ถึงพระปรีชาสามารถ “รอบด้าน”
พระองค์มีสายพระเนตรยาวไกล ด้วยทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศชาติ โดยการพัฒนาทั้งบุคลากร
และทรัพยากรธรรมชาติแบบครบวงจร เพื่อให้ราษฎรในแต่ละท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์คับขันอันเป็นที่เดือดร้อนแก่พสกนิกร พระองค์จะทรงเป็นหลักในการหาหนทาง
แก้ไขปัญหาวิกฤตินั้น ๆ จนสามารถขจัดปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ว่าต้นเหตุแห่งภาวะคับขันนั้น
จะมาจากธรรมชาติหรือมนุษย์ พระองค์ทรงใช้คติธรรมและความเป็นเหตุเป็นผลเป็นหลักในการทรงงาน
จึงก่อให้เกิดผลอันเป็นคุณอนันต์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนทั้งในเรื่องการพัฒนาอาชีพ การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การชลประทาน แหล่งน้ำ
และการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงส่งเสริม ทำนุบำรุงการศึกษา ศาสนา
และศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากฐานความเจริญทางด้านจิตใจของมนุษยชาติอีกด้วย ดังปรากฏ
ในโครงการหลวงและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนหลายพันโครงการ อีกทั้งยัง
พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่อง “รู้รักสามัคคี” เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าอยู่ร่วมกันอย่าง
สมานฉันท์ เพื่อประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่อง
๑๖