Page 19 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 19

“ทฤษฎีใหม่” เพื่อพัฒนาการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ทำให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้

               และมีความเป็นอยู่พอเพียง และพระราชทานปรัชญาในการดำรงชีวิตเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”

               เพื่อให้ประชาชนดำรงชีพอย่างพอดี พอกิน พอประมาณ และพอใจ


                      นับจากเมื่อเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ สืบต่อจาก

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙

               ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงบำเพ็ญ

               พระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าอย่างต่อเนื่องยาวนาน บันดาลประโยชน์สุขแก่มหาชน

               ชาวไทยอย่างกว้างขวางสมดังพระปฐมบรมราชโองการทุกประการ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ

               อย่างหาที่สุดมิได้อันขอเทิดไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตราบชั่วกาลนาน


               พระเกียรติคุณแซ่ซ้อง


                      พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์

               ที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานกว่าบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์ชาติไทย

                      ตลอดระยะเวลาที่ทรงดำรงฐานะประมุขของประเทศ นับแต่พุทธศักราช ๒๔๘๙ จนถึง


               พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นเวลายาวนานเกือบ ๗๐ ปี พระองค์ทรงพระวิริยอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณีย
               กิจนานัปการ เพื่ออำนวยประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ดังพระปฐม


               บรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม
               พุทธศักราช ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”


                      พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์

               ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเกษตรกรรม ด้านชลประทาน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

               ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

               ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการกีฬา และอื่น ๆ


                      พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์ คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิต

               ของประชาชน ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนหลายพันโครงการที่ส่งเสริม

               และสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่ท้องถิ่นชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรกรรม

               พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

               พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ในชนบท

               เพื่อทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานแนวทางแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง





                                                           ๑๗
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24