Page 20 - พ่อดีเด่นราชภัฏ ประจำปี ๒๕๖๗ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 20
ดิน เรื่องน้ำ เรื่องฝน เรื่องการผลิตและการตลาด รวมทั้งพระราชทานปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้ประชาชนของพระองค์ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและพึ่งตนเองได้ พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่
ในแต่ละปีเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่าง ๆ
เพื่อจะได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง ทรงติดตามผลการดำเนินงาน
ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งมี พระราชวินิจฉัยในปัญหาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
อาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทยที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง
พระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมด้วยความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงทำให้พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็น
เป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี
พระราชดำริและพระราชดำรัสที่ปรากฏและพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น เป็นสื่อที่แสดง
ให้เห็นว่านับตั้งแต่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นต้นมา ได้ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม
และจักรวรรดิวัตรอย่างมั่นคงครบถ้วนบริบูรณ์มาโดยตลอด ทรงเป็นบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่ง อันนำมาซึ่งความเจริญมั่นคงของประเทศชาติและความสุขสมบูรณ์
ของพสกนิกร ทรงตั้งมั่นอยู่ในขัตติยราชประเพณี ทั้งมีพระราชจริยาวัตรอันงดงาม ทรงดำรงพระองค์
อยู่ในครรลองแห่งความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง ยังความปลื้มปีติโสมนัส
แก่บรรดาบุคคลที่ได้สนองพระมหากรุณาธิคุณโดยใกล้ชิดพระยุคลบาท และยังเป็นที่ประจักษ์
แก่ประชาชนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังปรากฏจากที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ
ถวายพระราชสมัญญา จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ตลอดมา ดังนี้
พระราชสมัญญา
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระอัจฉริยภาพ
และพระปรีชาชาญในงานศิลปะและงานช่างหลายสาขา หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชน จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาต่าง ๆ
เพื่อเทิดพระเกียรติคุณและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อาทิ
พระราชสมัญญา “อัครศิลปิน”
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ”
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งฝนหลวง”
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”
พระราชสมัญญา “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา”
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”
พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
๑๘