Page 26 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 26

ดนตรีไทยสมัยกรุงธนบุรี



                                                              นิสิต ภาคบุบผา *



            การที่กรุงศรีอยุธยาได้พ่ายแพ้สงครามแก่พม่าในครั้งที่ ๒ และผู้ที่มากอบกู้
       เอกราชในครั้งนั้นคือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากความเสียหายที่พม่าได้เผา
       สถานที่ส�าคัญในอยุธยาหลายแห่งทั้งพระราชวัง วัดวาอาราม ป้อมก�าแพง เป็นต้น

       ท�าให้พระองค์ทรงมีแนวคิดในการย้ายราชธานีไปยังสถานที่แห่งใหม่ จึงได้เลือก
       เมืองธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น�้าเจ้าพระยา และสถาปนาเป็น
       กษัตริย์ปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๓๑๑ จนถึง พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ได้ทรงรวบรวมชุมนุม

       ต่าง ๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกล่าวว่า มีการด�าเนินการปกครองตามรูปแบบ
       สมัยอยุธยา คือ มีการปกครองส่วนกลาง ที่มีอัครเสนาบดี ๒ ต�าแหน่ง และเสนาบดี

       จตุสดมภ์ ๔ ต�าแหน่ง การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น
       เนื่องจากเป็นช่วงหลังสงคราม ในช่วงต้นสมัยธนบุรีสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน
       ไม่ค่อยดีนัก โจรผู้ร้ายชุกชุม ประชาชนหนีเข้าป่า จนพระเจ้าตากสินต้องสละทรัพย์

       ส่วนพระองค์ซื้ออาหารเครื่องนุ่งห่ม แจกจ่ายประชาชน จนในช่วงหลังจึงเริ่มมีพ่อค้า
       เข้ามาขายของในเมือง พระองค์ได้ทรงท�านุบ�ารุงศาสนา จากการที่วัดวาอาราม

       ถูกเผาเป็นจ�านวนมากและพระภิกษุ สามเณร ต้องหนีไปในที่ปลอดภัย ภาระกิจหลัก
       ที่ได้ด�าเนินการใน ๓ ด้าน คือ ๑) การจัดระเบียบ สังฆมลทล ๒) การรวบรวม
       พระไตรปิภฎ และ ๓) การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม (อาทร จันทวิมล ๒๕๕๖ : ๒๖๙)

            ศรีศักร วัลลิโภดม (๒๕๓๕ : ๑๘) ได้กล่าวไว้ว่า
            “...กรุงเทพฯ ก็ดี กรุงธนบุรีก่อนกรุงเทพฯ ก็ดี หลากหลายไปด้วยคนหลาย

       ชาติ หลายภาษา เพราะเป็นเมืองท่าไปมาสะดวกและเป็นเมืองอุดมสมบูรณ์ เหมาะ
       แก่การอยู่อาศัย จีนเข้ามา แขกที่อยู่ตามชายทะเลเกาะแก่งต่างๆ ก็เข้ามา คนที่อยู่



            *  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
       ราชภัฏอุบลราชธานี


     24 วัฒนศิลปสาร
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31