Page 27 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 27
ที่ดอนก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น เช่น ลาว มอญ เขมร เข้ามาเป็นล�าดับ พวกนี้เอาคติ
ความเชื่อของเขามาด้วย ถ้าวัฒนธรรมอันไหนของเขาแข็ง เขาก็สามารถแสดงออก
และรักษาของเขาได้เด่นชัด แต่ถ้าวัฒนธรรมใดอ่อนก็จะถูกวัฒนธรรมไทยกลืน เช่น
วัฒนธรรมมอญ พอเข้ามาแล้วก็กลืนกับวัฒนธรรมไทยได้มาก ...”
แสดงถึงความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมในสมัยธนบุรีที่ได้รับอิทธิพล
สืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาอยู่
ในเมืองไทย เพียงแต่ยังไม่ได้มีการบันทึกถึงเอกลักษณ์ของศิลปะในสมัยนี้ ไว้เป็น
หลักฐานอาจจะเนื่องด้วยภาวะทางเศรษฐกิจ การสงคราม หรือระยะเวลาในการ
เป็นราชธานีประมาณ ๑๕ ปี
ศิลปะแขนงหนึ่ง คือดนตรีไทยในสมัยกรุงธนบุรี ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
ตามสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ จารีตประเพณีและวัฒนธรรม ตลอดจนถึง
ระบบความเชื่อและค่านิยมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม
ทางการเมือง แม้จะยังไม่มีเรื่องราวที่ชัดเจนของดนตรีไทยในสมัยนี้ แต่ก็ได้มี
การกล่าวถึงดนตรีในหลายประเด็น ดังหลักฐานจาก หมายก�าหนดการเรื่องการฉลอง
พระแก้วมรกต ที่มีข้อความซึ่งมนตรี ตราโมท ได้วิเคราะห์ไว้ คือ
“ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ และมโหรีไทย
มโหรีแขก ฝรั่ง ญวณ เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช เป็นเวลา ๒ เดือน กับอีก ๑๒ วัน
สอดคล้องกับความคิดเห็นเรื่องการเข้ามาของชาวต่างชาติของอาจารย์ศรีศักร
วัลลิโภดม ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้วิเคราะห์ถึงดนตรี
ไทยในสมัยธนบุรี คือ แสดงให้เห็นว่ามีเครื่องดนตรีจากต่างชาติเข้ามาเป็นอันมาก
แต่แปลกอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “มโหรี” และ “พิณพาทย์” สมัยนั้นมีการแบ่งแล้วว่า
พิณพาทย์ คือเครื่องตีเป่าและมโหรี มีเครื่องหนักไปในทางดีดสี แต่ก็ไม่แปลกอะไร
ในการที่เรียกว่ามโหรี ซึ่งเคยปรากฏมาแล้วในเรื่องเก่า ๆ เช่น นิราศลอนดอน ของ
หม่อมราโชทัย ก็เคยเรียกออเคสตร้าว่า มโหรีวงใหญ่ ท่านเรียกอย่างนั้นในนิราศ
ลอนดอน จะเห็นได้ว่า ในสมัยธนบุรีมีมโหรี ส่วนเครื่องสายไม่ได้พูดถึง เข้าใจว่า
คงจะมี ส่วนวงพิณพาทย์สมัยธนบุรีนั้น มีเครื่องบรรเลงเพียงวงที่เรียกว่า เครื่องห้า
เท่านั้นเอง ซึ่งเหมือนกับปลายสมัยอยุธยา เครื่องห้ามี ปี่ใน ระนาด ฆ้องวง ตะโพน
วัฒนศิลปสาร 25