Page 10 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 10
2 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
๒.๑ พระเจ้าใหญ่อินแปง (อินทร์แปลง)
ในศิลาจารึกวัดป่าใหญ่หลักที่ ๑ และตามภาษาถิ่นเดิมใช้ชื่อว่า
พระเจ้าใหญ่อินแปง (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง) ค�าว่า “อิน”
หรือ อินทร์ หมายถึง พระอินทร์ ส่วนค�าว่า “แปง” หรือ แปลง หมายถึง สร้าง
ดังนั้นค�าว่า “อินแปง” หรือ อินทร์แปลง จึงหมายถึง พระอินทร์เป็นผู้สร้าง
พระพุทธรูปองค์นี้ที่มีความงดงาม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด
อุบลราชธานี ก่อด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้างราว ๓ เมตร
สูงราว ๕ เมตร โดยพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นผู้น�าในการสร้างเมื่อ
พ.ศ. ๒๓๕๐ ในศิลาจารึกวัดป่าใหญ่หลักที่ ๑ ได้กล่าวถึงประวัติการสร้าง
พระเจ้าใหญ่อินแปงไว้ ดังนี้
- พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา ประมุขสงฆ์เมืองอุบลราชธานี
เป็นผู้น�าสร้างพระเจ้าใหญ่อินแปง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ ดังจารึกว่า “...ศักราชได้
ร้อย ๖๙ ตัว ปีเมิงเหม้า มหาราชครู ศรีสัทธรรมวงศาพาลูกศิษย์สร้างพุทธรูป
ดินแลอิฐซะทายใส่วัดล่วงเดือน ๕ เพ็ง วัน ๑ มื้อรวงไค้ ฤกษ์ ๑๒ ลูกชื่อว่าจิตตา
อยู่ในราศีกันย์ เบิกแล้วยามแถใกล้ค�่า จึงได้ชื่อว่า พระเจ้าอินแปง ให้คนแลเทวดา
คอยล�าแยงรักษาบูชาอย่าให้มีอนารายอันตายแก่พุทธรูปเจ้าองค์วิเศษเพื่อให้เป็น
มุงคลแก่บ้านเมือง...” (ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๗๓-๓๗๔)
- พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา ถวายข้าแด่พระเจ้าใหญ่อินแปง
๒๓ คน ดังจารึก ว่า “...มหาราชครูตนสร้างมีค�าเลื่อมใสจึงทอดน้องหญิงชื่อว่า
แม่ปุยกับทั้งอีปู้ยหลานหญิงให้เป็น ข้าโอกาสแก่พุทธรูปอินแปงเจ้าองค์นี้
ลูกหญิงชื่อว่า สาวหล้า สาวตวย สาวทุม ให้เป็นข้าโอกาสพุทธรูปเจ้า แลนางเพี้ย
โคตรกับทั้งลูกเป็น ๔ แลนางเพี้ยแก้วกับทั้งลูกเป็น ๓ แลแม่เชียงทากับทั้งลูก
เป็น ๓ แลแม่ภากับทั้งลูกเป็น ๕ มอบตัวเป็นข้าโอกาสพุทธรูปเจ้าองค์นี้
แม่พระชาลี สาวดวง แลอีบุญ ๒ คนนี้ มอบตนเป็นข้าโอกาส ข้อยโอกาส
ทั้งมวลนี้เป็นซาว ๓ หาเป็นโอกาสด้วยค�าเลื่อมใส บ่ได้เอาข้าวของพุทธรูปเจ้า