Page 13 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 13
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 5
ลักษณะของจารึกเป็นใบเสมาหินทรายทรงใบพาย สูง ๐.๔๕ เมตร
กว้าง ๐.๔๒ เมตร จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน ๑๐ บรรทัด (ธวัช ปุณโณทก
๒๕๓๐: ๓๗๗) ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านข้างเบื้องซ้ายของพระเจ้าใหญ่อินแปง ซึ่งพระครู
วิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป) เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม คงเป็นผู้น�ามา
ตั้งไว้ ณ ที่นี้เมื่อคราวปฏิสังขรณ์วิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ เนื้อความกล่าวว่า
พระมหาราชครู ศรีสัทธรรมวงศา วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี (วัดป่าใหญ่)
ได้สร้างพระเจ้าใหญ่อินแปง มีใจความตอนหนึ่งว่า “...สร้างพุทธรูปดิน (แ) ลอิฐ
ซะทายใส่นามโคตรชื่อว่าพระเจ้าอินแปง...” จุลศักราช ๑๑๖๙ ตรงกับ พ.ศ.
๒๓๕๐ (ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๗๗-๓๗๘)
๒.๔ พระประธานสิมหลังเก่าและจารึกฐานพระพุทธรูปวัดป่าใหญ่
หลักที่ ๓
พระประธานสิมหลังเก่าเป็นพระพุทธรูปส�าริดปางมารวิชัย
ขัดสมาธิราบ เลขทะเบียนวัตถุที่ ๑/๒๕๖๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๘ ซม.
สูง ๑๔๒ ซม. พระรัศมีเปลวสูง อุษณีษ์สูง เม็ดพระศกเล็ก มีไรพระศก พระขนงโก่ง
พระนาสิกโด่งเป็นสันคม มุมพระโอษฐ์ยกโค้งขึ้นทั้งสองด้าน ครองจีวรห่มเฉียง
สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่จรดพระนาภี ปลายตัดตรง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุบลราชธานี ๒๕๖๑: ไม่มีเลขหน้า) เพิ่งพบเมื่อคราวรื้อพระวิหารวันที่ ๑ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ฐานพระมีจารึกอักษรธรรมอีสาน ๓ บรรทัด เรียกชื่อจารึกหลาย
ชื่อว่า จารึกฐานพระพุทธรูปวัดป่าใหญ่ ๓, อบ. ๒๐, จารึก วัดมหาวนาราม
หลักที่ ๓, จารึกฐานพระพุทธรูปวัดป่าใหญ่ ๕ ส่วนฐานที่มีจารึก สูง ๐.๑๓ เมตร
กว้าง ๐.๘๑ เมตร ความว่า “พุทธศักราชได้ ๒๓ (๗๔) พระวัสสา เดือนล่วงแล้ว
๙ เดือน วันล่วงแล้ว ๒๑ วัน ปัจจุบันปีนี้เถาะ ตรีศก อยู่ในเหมันตฤดู เดือน ๓
ขึ้น ๗ ค�่า วัน ๔ มหาราชครูธรรมคุต วัดป่ามณีโช (ติ) สร้างพระพุทธรูปองค์
แสน ๓ หมื่นไว้โชตนาศาสนาตราบต่อเท่า ๕ พันพระวัสสา นิพพาน ปัจจโยโหตุ”
จุลศักราช ๑๑๙๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๔ (ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๔๐๕-๔๐๖)