Page 15 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 15
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 7
๔ ขนาดส่วนที่จารึกสูง ๐.๑๓ เมตร กว้าง ๐.๔๑ เมตร มีความว่า “จุลศักราช
ได้ร้อย ๙๑ ตัว ปีเป้า แลท่านเจ้าครูศรีวิลาส มีใจใสศรัทธาริจนา สร้างพุทธรูป
ไว้โชตนาในพุทธศาสนา นิพพาน ปัจจโยโหนฺตุ” จุลศักราช ๑๑๙๑ ตรงกับ
พ.ศ. ๒๓๗๒ (ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๙๗)
๒.๗ พระพุทธรูปปางมารวิชัยและจารึกหลักที่ ๖
พระพุทธรูปทองปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทะเบียนวัตถุเลขที่
๔/๒๕๖๑ หน้าตักกว้าง ๒๖ ซม. สูง ๖๙ ซม. พระรัศมีเปลวสูง อุษณีษ์สูง
เม็ดพระศกเล็ก พระเนตรเป็นรอยขีดคล้าย หลับพระเนตร พระขนงโก่ง
พระนาสิกโด่งเป็นสันคม มุมพระโอษฐ์ยกขึ้น ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิ
เป็นแผ่นใหญ่จรดพระนาภี ฐานบัวคว�่าประดับลูกแก้วอกไก่ ด้านหลังของฐาน
มีห่วงปักฉัตร ๒ ห่วง สร้างด้วยทองค�าราว ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เคยอยู่ในสิมหลังเก่า
(พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ๒๕๖๑: ไม่มีเลขหน้า) ที่ฐานมีจารึก
อักษรธรรมอีสาน ๓ บรรทัด เรียกว่า จารึกวัดป่าใหญ่ หลักที่ ๖ ขนาดจารึก
สูง ๑๒.๕ ซม. กว้าง ๔๒ ซม. หนา ๑ ซม. มีความว่า
“จุลลสักกาษราซาได้ฮ้อย ๕๐๕ ตัวเป้ามหา...โค...สามีสัทธาส่าง
พระพุทธฮูปเจ้ามี ๒๒ องคปฑิสาน...นิพาน ปัจจโยโหตุ” จุลศักราช ๑๑๕๕
ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๖ (พระทองแดง อตฺตสนฺโต ๒๕๓๒: ๔๗)
๒.๘ พระพุทธรูปปางมารวิชัยและจารึกหลักที่ ๗
พระพุทธรูปส�าริดปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทะเบียนวัตถุเลขที่
๗/๒๕๖๑ ลงรัก ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒๐ ซม. สูง ๖๔.๕ ซม. พระรัศมีเปลวสูง
อุษณีษ์สูง เม็ดพระศกเล็ก พระเนตรและพระขนงลบเลือน พระนาสิกโด่งเป็น
สันคม มุมพระโอษฐ์ยกขึ้น ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่จรดพระนาภี
ฐานบัวคว�่าบัวหงายประดับลูกแก้วอกไก่ ประดับผ้าทิพย์ ด้านหลังมีห่วงปักฉัตร
๒ ห่วง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ๒๕๖๑: ไม่มีเลขหน้า) เคยอยู่ใน
สิมหลังเก่า ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมอีสาน ๕ บรรทัด เรียกว่าจารึกวัดป่าใหญ่