Page 14 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 14
6 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
๒.๕ พระศิลามุจรินทร์และศิลาจารึกหลักที่ ๔
พระศิลามุจรินทร์เป็นพระพุทธรูปศิลาปางนาคปรก ๗ เศียร สูง
๙๒ ซม. พระรัศมี ทรงกรวยแหลมสูง อุษณีษ์สูง เม็ดพระศกเล็ก มีไรพระศก
พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งเป็นสันคม มุมพระโอษฐ์ยกโค้งขึ้นทั้งสองข้าง
ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่จรดพระนาภี รัดประคดแผ่นใหญ่
ประดับลวดลายทับชายสังฆาฏิ (ช�านาญ ภูมลี ๒๕๖๑: ๔๑) เคยเป็นพระพุทธ
รูปในสิมหลังเก่า เพิ่งพบเมื่อคราวรื้อพระวิหารวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมอีสาน ๕ บรรทัดมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ จารึกฐาน
พระพุทธรูปวัดป่าใหญ่ ๑, อบ. ๑๖, จารึกวัดมหาวนาราม หลักที่ ๔, จารึกฐาน
พระพุทธรูปวัดป่าใหญ่ ๑ ขนาดฐานที่จารึก สูง ๐.๑๑ เมตร กว้าง ๐.๔๘ เมตร
ความว่า “สงกราชได้ร้อย ๖๘ ตัวปีรวายยี่ เดือน ๑๒ แรม ๘ ค�่า (วัน) ๔ มื้อเมิงเม้า
มหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาสร้างพระศิลามุจลินทร์ไว้ (ใ) ห้เป็นที่ไหว้แลบูชา
แก่คนแลเทวดาทั้งหลายตราบต่อเท่า ๕ พันวัสสาสัพพัญญุตญาณ ปัจจโยโหตุ
ให้ครบจักได้ดังค�าปรารถนา” จุลศักราช ๑๑๖๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๙
(ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๖๗-๓๖๘)
๒.๖ พระพุทธรูปปางมารวิชัยและจารึกหลักที่ ๕
พระพุทธรูปส�าริดปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ เลขทะเบียนวัตถุที่
๒/๒๕๖๑ หน้าตักกว้าง ๓๒ ซม. สูง ๗๙ ซม. พระรัศมีเปลวสูง อุษณีษ์สูง ส่วน
ปลายหักหาย เม็ดพระศกเล็ก มีไรพระศก พระเนตรเป็นรอยขีดโค้ง ลักษณะ
คล้ายหลับพระเนตร พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งเป็นสันคม มุมพระโอษฐ์ยกโค้ง
ขึ้นทั้งสองข้าง ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่จรดพระนาภีปลายตัดตรง
ส่วนฐานเป็นบัวงอน ฐานด้านหลังมีห่วงปักฉัตร ๑ ห่วง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุบลราชธานี ๒๕๖๑: ไม่มีเลขหน้า) เคยอยู่ในสิมหลังเก่า ที่ฐานจารึกอักษรธรรม
อีสาน ๓ บรรทัด เรียกชื่อจารึกหลายชื่อ ได้แก่ จารึกฐานพระพุทธรูปวัดป่าใหญ่
๒, อบ. ๑๗, จารึกวัดมหาวนาราม หลักที่ ๕, จารึกฐานพระพุทธรูป วัดป่าใหญ่