Page 12 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 12
4 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
ด้านหลังพระเจ้าใหญ่ เป็นซุ้มเรือนแก้วพญานาค ๕ ตนสร้างเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๗๙ ฝีมือนายโพธิ์ ส่งศรี และนายนา เวียงสมศรี มีจารึกหลังซุ้มเรือนแก้ว
ว่า “นางแกล้วกาญจนเขตร์ (ประทุม อรุณวงศ์) นางตุ่น แซ่ตั้ง ๑ ตัว นางค�าผูย
โกศัลวิตร์ นางแก้วพา ประทุมทอง นางประสารโทระ กิจ (หมี) กับอีกหลายคน
ช่วยเล็กน้อย ๔ ตัว สร้างเรือนแก้วนี้ ๑๐๐ บาท SIAM พ.ศ. ๒๔๗๙ พ. ส่งศรี
กับนายนา เป็นช่างท�า (อักษรจีน ๖ ตัว)...”
๒.๒ ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง (ศิลาจารึกวัดป่าใหญ่หลักที่ ๑)
จารึกนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ จารึกพระเจ้าอินแปง (จารึกใน
ประเทศไทย เล่ม ๕) /อบ. ๑๑ (กองหอสมุดแห่งชาติ), ศิลาจารึกพระเจ้าอินแปง
อบ. ๑๔ (วารสารศิลปากร), จารึกวัดป่าใหญ่ ๒ (ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว,
ศิลาจารึกวัดป่าใหญ่หลักที่ ๑ {ประวัติวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง)
โดยพระทองแดง อตฺตสนฺโต}
ลักษณะของจารึกเป็นใบเสมาหินทรายทรงใบพาย สูง ๐.๘๙ เมตร
กว้าง ๐.๕๙ เมตร ตอนบนมีดวงทักษาและลวดลายหางนาค จารึกด้วยอักษร
ธรรมอีสาน ๒๔ บรรทัด (ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๗๒) ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านข้าง
เบื้องขวาของพระเจ้าใหญ่อินแปง ซึ่งพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง ธมฺมทีโป)
เจ้าอาวาสวัดมณีวนารามเป็นผู้น�ามาไว้ที่บริเวณนี้เมื่อคราวปฏิสังขรณ์พระวิหาร
พ.ศ. ๒๔๗๔ เนื้อความกล่าวถึง เจ้าเมืองอุบลราชธานีสององค์และพระมหาราช
ครูศรีสัทธรรมวงศาได้สร้างวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์สัสดี (วัดป่าใหญ่)
สร้างพระเจ้าใหญ่อินแปง พร้อมทั้งอุทิศทาสและที่นาถวายพระเจ้าใหญ่ด้วย
เมื่อศักราช ๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐)
๒.๓ ศิลาจารึกวัดป่าใหญ่หลักที่ ๒
ศิลาจารึกวัดป่าใหญ่หลักที่ ๒ มีชื่อเรียกหลายชื่อคือ อบ. ๑๒
(กองหอสมุดแห่งชาติ), จารึกวัดป่าใหญ่ ๓ (ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว),
ศิลาจารึกหลักที่ ๒ {ประวัติวัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) โดยพระทองแดง
อตฺตสนฺโต}