Page 11 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 11
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 3
ครั้นว่าไผอยากออกจากโอกาสให้ปัจจัยไทยธรรมให้สมควรค�าเลื่อมใสบูชา
พุทธรูปเจ้าจงออกเทอญ บ่เป็นโทษเป็นกรรมแลพระยาตนใดมากินบ้านกินเมือง
ที่นี้บ่ใช้เวียกบ้านการเมืองแก่ข้าโอกาสฝูงนี้ได้ชื่อว่าคบรบพระเจ้านัยหนึ่งชื่อว่า
ประกอบชอบธรรม พระยาตนใดมานั่งเมืองอันนี้มาดศิลาเลก อันนี้รู้ว่าพุทธรูป
เจ้ามีข้อยโอกาส จึงบ่ใช้เวียกบ้านการเมืองพระยาตนนั้นบอกข้าโอกาส
ให้ปฏิบัติพุทธรูปเจ้า จักได้กุศลบุญกว้างขวาง เหตุคบรบในพุทธรูปเจ้าแล...”
(ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๗๔-๓๗๕)
- ก�าหนดให้เจ้าเมืองกระท�าพิธีนมัสการในวันเพ็ญเดือน ๕ ของ
ทุกปี ดังจารึกว่า “...นัยหนึ่งพระยาตนใดมาอยู่ดินกินเมืองที่นี้ให้บูชาคบรบ
พุทธรูปเจ้าองค์นี้ด้วยเครื่องสักการบูชาเยื่องใดเยื่องหนึ่ง คือมหรสพครบงัน
เมื่อเดือน ๕ เพ็ง ดังนั้นจักได้ค�าวุฒิศรีสวัสดิ์สัสดีแก่ชาวบ้านชาวเมือง
เหตุพุทธรูปประกอบด้วยบุญลักษณะ เหตุดังนั้นเทวดาจึงให้ค�าวุฒิศรีสวัสดิ์
สัสดี ด้วยเดชคุณพุทธรูป...” (ธวัช ปุณโณทก ๒๕๓๐: ๓๗๕)
- พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานี
องค์ที่ ๒ สร้างวิหารถวายพระเจ้าใหญ่อินแปง และอุทิศที่นาด้านทิศเหนือถวาย
แด่พระเจ้าใหญ่ มีการตัดถนนสรรพสิทธิ์ผ่าน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานีต�ารวจ
ภูธรอ�าเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี (พระทองแดง อตฺตสนฺโต ๒๕๓๒: ๑๒)
ดังจารึกว่า “...นัยหนึ่งอาชญาเจ้าเมืองตนชื่อว่าพระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ได้
สร้างวิหารอารามให้ที่สถิตย์แก่พุทธรูปเจ้า จึงมีค�าใส จึงประสาทให้ดินนา
คือท่งเบื้องท้ายวัดนั้นเป็นทานแก่พุทธรูปเจ้า ทาง รีสุดท่งทางกว้างจุแดนดง
คนผู้ใดผู้หนึ่งมาเฮ็ดนาในดินโอกาสที่นี้ ผิว่าได้เกวียน ๑ ให้เก็บค่าดินถังหนึ่ง
๒ เกวียน ๒ ถึง ให้เก็บขึ้นตามส�าคัญสัญญาดังหลังนั้นเทอญ...” (ธวัช ปุณโณทก
๒๕๓๐: ๓๗๕)