Page 153 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 153
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 145
๒.๗ กุฏิสีตาภินันท์
เป็นกุฏิที่พระครูสีตาภินันท์ (สีดา อินทฺปญฺโญ) เป็นผู้น�าในการสร้าง
และเป็นที่พ�านักของท่าน เรียกกันโดยทั่วไปว่า “กุฏิใหญ่” มีขนาดกว้าง ๑๐ ม.
ยาว ๑๕ ม. ๒ ชั้น ๒ มุข ทรงมนิลา หลังคามุงด้วยสังกะสี เสาไม้จริงต่อเสา
คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นและฝาเป็นไม้ตะเคียนทอง
๒.๘ หอระฆังเทียนเสมอมิตร
นางทองกร เสมอมิตร สร้างอุทิศส่วนกุศลให้ พ.ต.ท. เทียน
เสมอมิตร ผู้เป็นสามี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ สูง ๕ ชั้น ๒๕ ม. กว้าง ๕ ม. ยาว ๙ ม.
สิ้นทุนทรัพย์ ๗๖,๖๓๐.๓๐ บาท พระราชรัตโนบล (พิมพ์) เป็นผู้ควบคุมการ
ก่อสร้าง พระสงฆ์ในวัดกับกับช่างไข ลาคี เป็นผู้ก่อสร้าง (หนังสืออนุสรณ์
พระราชทานเพลิงศพ พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ป.ธ.๖, พ.ม. ที่ระลึกใน
วโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ งานออกเมรุ พระราชทานเพลิงศพพระราช
รัตโนบล (พิมพ์ นารโท ป.ธ.๖) ณ เมรุลอยพิเศษ นกหัสดีลิงค์ วัดทุ่งศรีเมือง
อ�าเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ ๑๗-๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘: ๕๑)
๒.๙ ซุ้มประตูหาญชนะ
เป็นประตูโขงด้านทิศตะวันออก สร้างโดยช่างค�าหมา แสงงาม
ศิษย์พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ อุบาสิกานุ่ม
เลาหะตระกูล เจ้าของโรงหนังนิมิตรรามาเป็นผู้บริจาคเงินสร้าง ๑๑,๐๐๐ บาท
ประตูโขงนี้ยกย่องกันว่าเป็นต้นแบบประตูโขงของวัดหลายวัดในจังหวัด
อุบลราชธานี ด้านหน้าประตูโขงมีอักษรชื่อ วัดทุ่งศรีเมือง ด้านหลังมี
ข้อความว่า “ตระกูลหาญชนะ พ.ศ. ๒๕๐๓” ที่เสาประตูโขงทั้งซ้ายและขวา
มีแผ่นหินอ่อนจารึกข้อความเหมือนกันว่า “อุบาสิกานุ่ม เลาหะตระกูล
พร้อมด้วยคณะญาติมีศรัทธาสร้างเป็นอนุสรณ์ “ตระกูลหาญชนะ” สิ้นทุนทรัพย์
๑๐,๔๐๐.๐๐ บาท สร้างพุทธศักราช ๒๕๐๓”