Page 159 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 159

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 151


                  ด้านการปกครอง มีพระภิกษุ ๑๖ รูป สามเณร ๓๐ รูป มีผู้ช่วยเจ้าอาวาส

            ๓ รูป ได้แก่
                           - พระครูสิริรัตนานุยุต (บัวกมลรัตน์ นนฺทสิริ เผ่าผม)
                           - พระครูปลัดพิฑูรย์ ขนฺติสาโร

                           - พระครูสังฆรักษ์จันดี สุจนฺโท (แววศรี)
                  ด้านการศึกษา มีโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

            สอนสายสามัญ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และมัธยมศึกษาตอนปลาย
            (ม.๑-ม.๖)

            ๔. ความส�าคัญ

                  ๔.๑ เป็นวัดส�าคัญตามใบบอกเมืองอุบลราชธานีของพระยาราชเสนา
            (ทัด ไกรฤกษ์) หลวงภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์)

            ได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดนี้ไปเจริญพระพุทธมนต์และรับไทยธรรมที่ศาลากลาง
            จังหวัดหลังเสร็จพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ณ อุโบสถวัดหลวงใน
            พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นเวลา ๓ วันดังความว่า “นิมลพระภิขุสงฆมหานิกายสิ้นทุกวัด

            คือวัดหลวงวัดหนองยางวัดสว่างวัดเรียบวัดป่าน้อยวัดป่าไหญ่วัดทุ่งวัดไต้วัดท่า
            วัดเหนือวัดกลางรวม ๑๑ วัด จ�านวนพระพิขุสงฆ ๑๖๓ รูป เจริญพระพุทมลต์

            สมโพชพระบรมราชศาทิฉายาลักษณ์” (ใบบอก ร.๕ ม.๒.๑๒ ก/๓ [๖๙} ๒๔๒๘:
            ๑๒๑-๑๒๒)
                  ๔.๒ วัดส�าคัญด้านการปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เป็นที่จ�าพรรษา

            ของพระสังฆาธิการระดับชั้นต่าง ๆ เช่น เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอ�าเภอ
            เจ้าคณะต�าบลหลายยุคหลายสมัย เช่น พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล

            สังฆปาโมกข์ พระครูวิโรจน์รัตโนบล พระราชรัตโนบล
                  ๔.๓ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ได้แก่ พระเจ้าใหญ่ศรีเมือง
            พระเจ้าใหญ่องค์เงิน
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164