Page 157 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 157
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 149
อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุบลฯ อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง ชาตะ วัน ๖ เดือน ๑๒
พ.ศ. ๒๓๙๗ มรณะ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕” ส่วนฐานของซุ้มมีแผ่นจารึก
ประวัติบุคคลส�าคัญ ๓ คนที่เกี่ยวข้องกับวัดทุ่งศรีเมือง คือ นายโพธิ์ ส่งศรี
รองอ�ามาตย์ตรี ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ค�าผล กองแก้ว
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดทุ่งศรีเมือง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๒
งาน ๒๓ ตารางวา มีอาณาเขตทิศเหนือจดถนนพโลรังฤทธิ์ ทิศใต้จดส�านักงาน
อัยการจังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันออกจดถนนหลวง ทิศตะวันตกจดถนน
นครบาล สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ โดยพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมล
อุบลสังฆปาโมกข์ ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีไปบรรพชาอุปสมบทเพื่อศึกษาเล่า
เรียนที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครจนมีสมณศักดิ์เป็นพระราชา
คณะ ได้รับแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นเจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีปกครองคณะสงฆ์เมือง
อุบลราชธานี (เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) สถิตอยู่ที่วัดมณีวนาราม
มีกุฏิแดงเป็นที่พ�านัก ท่านท�าหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ จัดการเรียนการสอนวิชา
ภาษาไทย พระปริยัติธรรมและสอนวิปัสสนากรรมฐาน ท่านมานั่งเจริญวิปัสสนา
ที่ทุ่งในป่าบริเวณที่ตั้งวัดทุ่งศรีเมืองเป็นประจ�า ซึ่งขณะนั้นเป็น “พื้นหญ้า
ป่าหว้าชายดงอู่ผึ้ง ชายเมืองอุบลราชธานี” (พระราชรัตโนบล ๒๕๓๕: ๑๙) ด้วย
เห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เงียบสงบ อากาศเย็นสบาย ถูกอัธยาศัยของท่าน เมื่อท่าน
ลงไปท�าธุระที่กรุงเทพมหานครท่านได้จ�าลองรอยพระพุทธบาทจากวัดสระเกศ
ราชวรมหาวิหารมาด้วย ประดิษฐานไว้ที่ท่านมานั่งเจริญวิปัสสนานี้ ต่อมาจึงได้
สร้างหอพระพุทธบาทไว้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท การสร้างหอ
พระพุทธบาทนี้เป็นไปด้วยความยากล�าบากเพราะอยู่ในที่ลุ่ม ในฤดูฝนมีน�้าท่วม
ขังเป็นเวลานาน ต้องใช้ดินถมที่ให้สูงขึ้น มีการขุดเอาดินจากหนองหมากแซว
ที่ด้านทิศตะวันตกของหอพระพุทธบาทและจากบริเวณทิศเหนือของหอ
พระพุทธบาทมาถมด้วย นอกจากนี้ยังขุดดินบริเวณด้านหน้าของวัดทุ่งศรีเมือง