Page 160 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 160

152 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


               ๔.๔ เป็นวัดที่มีโบราณสถานส�าคัญของชาติอยู่หลายแห่ง เช่น หอ

          พระพุทธบาท หอพระไตรปิฎก วิหารศรีเมือง
               ๔.๕ เป็นวัดส�านักเรียนงานช่างศิลปะของเมืองอุบลราชธานีมาแต่อดีต
          มีพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) เป็นบูรพาจารย์ มีชื่อเสียงด้าน

          สถาปัตยกรรม ด้านจิตรกรรม งานหล่อ งานปั้น งานไม้ งานแกะสลัก
          งานแทงหยวก งานหีบศพ งานสร้างเมรุนกหัสดีลิงค์ ช่างที่มีชื่อเสียง เช่น

          ช่างโพธิ์ ส่งศรี ช่างค�าหมา แสงงาม ช่างหล้า จันทรวิจิตร
               ๔.๖ เป็นวัดในโครงการการลานบุญ ลานวิถีไทย ศูนย์ศึกษาพระพุทธ
          ศาสนาวันอาทิตย์

               ๔.๗ วัดทุ่งศรีเมืองเป็นวัดหนึ่งใน ๒๒ วัดที่จัดเทศน์ธรรมัสสวนะสามัคคี
          ของเมืองอุบลราชธานีในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เรียกสั้น ๆ

          ว่าเทศน์สามัคคี โดยเวียนจัดทั้ง ๒๒ วัด เริ่มจากวัดมณีวนาราม สิ้นสุดที่
          วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นงานบุญที่ส�าคัญเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ
          เมืองอุบลราชธานี


          ๕. ภาพประกอบ
               ภาพประกอบถ่ายโดย ปกรณ์ ปุกหุต และณัฐพงค์ มั่นคง เมื่อวันที่ ๒๐

          พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

          ๖. เกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัด
               ๖.๑ ประวัติการสร้างวิหารศรีเมือง พระครูวจีสุนทร อดีตเจ้าคณะอ�าเภอ

          ม่วงสามสิบ เล่าว่า “เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๘ ผมไปจ�าพรรษาที่วัดทุ่งศรีเมือง
          มีท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบลเป็นเจ้าอาวาสท่านพาพระเณรญาติโยมไปท�า

          พลับพลาตัดเสาที่ค�าน�้าแซบ วัดวารินทรารามในปัจจุบัน สมัยนั้นมีแต่ป่า
          ยังไม่มีบ้านเมืองไม่มีค่ายทหาร เมื่อตัดเสาได้แล้วก็ท�าล้อลากเสาลงท่าน�้ามูลข้าม
          มาฝั่งเมืองที่ท่ากวางตุ้ง แล้วลากจากท่ากวางตุ้งเข้ามาวัดทุ่งศรีเมือง วันไหนจะ
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165