Page 158 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 158
150 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
น�ามาปั้นเป็นอิฐสร้างหอพระพุทธบาท จนบริเวณหน้าวัดกลายเป็นหนองเรียก
ว่าหนองดินจี่ (ดินจี่หมายถึงอิฐ) ปัจจุบันหนองหมากแซวและหนองดินจี่
ถูกถมแล้ว
ประดับ ก้อนแก้ว เล่าว่า ท่านสุ้ยเป็นผู้น�าให้ชาวบ้านชาวเมืองช่วยกัน
น�าดินจากหนองดินจี่มาปั้นเป็นก้อนอิฐสร้างสิมหรือหอพระพุทธบาท หลังจาก
สร้างสิมแล้วเสร็จจึงได้ตั้งวัดขึ้นในภายหลัง เพื่อเป็นมงคลนามของวัด
ที่ตั้งอยู่ชายเมืองชายทุ่งจึงขนานนามว่า วัดทุ่งศรีเมืองหรือวัดทุ่งชายเมือง
ท่านเป็นผู้ให้ญาคูช่างย้ายจากวัดมณีวนารามมาจ�าพรรษาที่วัดแห่งนี้เพื่อสร้าง
หอพระพุทธบาทจนแล้วเสร็จในราว พ.ศ. ๒๓๘๕ ครั้นสร้างหอเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธบาทแล้ว ทางทิศเหนือกลายเป็นหนองน�้าจึงได้สร้างหอ
พระไตรปิฎกขึ้นที่กลางสระน�้า
เจ้าอาวาส เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืองนับถึง พ.ศ. ๒๕๖๒ มี ๖ รูป ดังนี้
๑) พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) หลัก
ค�าและพระธรรมบาล ของเมืองอุบลราชธานี ครองวัดราว พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๙๕
๒) พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร สมจิต) สังฆปาโมกข์
เจ้าคณะใหญ่เมืองอุบลราชธานี (เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี) บูรพาจารย์ช่างศิลป์
ของเมืองอุบลราชธานี ครองวัดราว พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๘๕
๓) พระครูสีตาภินันท์ (สีดา อินทฺปญฺโญโส วันทา) เจ้าคณะ
หมวด (เจ้าคณะต�าบล) ครองวัด พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๕๐๑
๔) พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท ตลอดพงษ์ ป.ธ.๖) เจ้าคณะ
จังหวัดอุบลราชธานี ครองวัด พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๔๘
๕) พระสิริพัฒนาภรณ์ (สมหมาย โชติปุญฺโญ บุญเอื้อ ป.ธ.๖)
เจ้าคณะอ�าเภอเขื่องใน ประธานองค์การพระผู้น�าพัฒนาแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง
ครองวัด พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๗
๖) พระวิโรจน์รัตโนบล (จันทร์ จนฺทสโร ส่งสุข ป.ธ.๓) เจ้าคณะ
อ�าเภอบุณฑริก ครองวัด พ.ศ. ๒๕๕๗-ปัจจุบัน