Page 155 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 155
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 147
๒.๑๓ รอยพระพุทธบาท
เชื่อว่าจ�าลองมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
และพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ได้สร้างอุโบสถขึ้นและเป็นที่
ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทด้วย ขนาดกว้าง ๖๕ ซม. ยาว ๑๖๕ ซม. การจัด
สัญลักษณ์มงคลอยู่ในแผนผังของจักรวาลมิติ แต่ลวดลายสัญลักษณ์มงคลมิได้
จัดลงในตาราง ยกเว้นมหาพรหมโลก ๑๖ ชั้น ลายมงคลมีไม่ครบ ๑๐๘ ประการ
และมีลายที่มิใช่มงคล ๑๐๘ อาทิ นกหัสดีลิงค์ สุกร ค้างคาว (ยุทธนาวรากร
แสงอร่าม ๒๕๕๑: ๑๑) และยังปรากฏลวดลายดอกกาละกับ จึงสันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นที่เมืองอุบลราชธานีเพราะนกหัสดีลิงค์และดอกกาละกับเป็นลาย
เอกลักษณ์ของท้องถิ่นนี้
๒.๑๔ รูปเหมือนพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร)
เป็นรูปปูนปั้นห่มจีวรคลุม ที่ฐานมีจารึกว่า “พระครูวิโรจน์รัตโนบล
(หลวงปู่รอด)” ประดิษฐานอยู่ในหอพระพุทธบาทมาแต่เดิม เป็นที่เคารพศรัทธา
กันมาก
๒.๑๕ ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์ (เม็ง)
มีรูปแบบเป็นศิลปะเม็งเมืองอุบลราชธานี ใช้ส�าหรับนั่ง
สวดปาฏิโมกข์ เป็นสมบัติของวัดทุ่งศรีเมืองมาแต่เดิม ภาพถ่ายของพระครูวิโรจน์
รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ก็นั่งบนธรรมาสน์นี้ เคยถูกโจรกรรมไปในสมัยที่
พระสิริพัฒนาภรณ์ (สมหมาย โชติปุญฺโญ) เป็นเจ้าอาวาส ขยันวิทย์ ศรีสกุลวรรณ
ได้พบและบริจาคทรัพย์ไถ่ถอนน�ามาถวายคืน ปัจจุบันใช้ประดิษฐานรูปเหมือน
พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ในหอพระพุทธบาท
๒.๑๖ หีบพระธรรม
เป็นหีบทองทึบ ๑ ใบเก็บรักษาไว้ในหอพระไตรปิฎก