Page 289 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 289

วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 281


                                        วัดหลวง


            ๑. ที่ตั้ง
                  เลขที่ ๙๕ ถนนพรหมเทพ ต�าบลในเมือง อ�าเภอเมืองอุบลราชธานี

                  จังหวัดอุบลราชธานี
                  พิกัด (UTM หรือละติจูด/ลองจิจูด) ๑๕.๒๒๔๗๕๗, ๑๐๔.๘๕๙๘๙๙


            ๒. ประเภทแหล่งศิลปกรรม โบราณสถานและโบราณวัตถุ
                  วัดหลวง มีเสนาสนะและอาคารต่าง ๆ ได้แก่ อุโบสถ วิหารพระเจ้าใหญ่
            องค์หลวง (หอแจก) ศาลาปฏิบัติธรรมพระเจ้าใหญ่องค์หลวง หอระฆัง ศาลา

            พระพุทธวิเศษ-พระสังกัจจายน์ หอฉัน-โรงครัว กุฏิอนุสรณ์พระปทุมวรราชสุริย
            วงศ์ (เจ้าค�าผง) กุฏิพระครูปริยัติยานุวัตร (เส็ง อุตฺตโม) ตลอดจนโบราณวัตถุและ

            ศิลปวัตถุ ดังนี้
                    ๒.๑ วิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง
                        วิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นหอแจกหรือศาลาการเปรียญ

            สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๔๙๒ แทนวิหารเก่าที่รื้อถอนไป โดยมีพระครูวิจิตรธรรม
            ภาณี (กิ่ง มหปฺผโล) เจ้าคณะอ�าเภอเมืองอุบลราชธานีเป็นผู้น�าสร้าง ขนาดความ

            กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร (กิ่งธรรม ๒๕๓๘: ๘) มีญาติโยมร่วมบริจาคสร้าง
            หลายราย ดังข้อความที่หน้าบันรูปเทพนมของวิหารว่า “๑๘ เมษายน ๒๔๙๐
            นายเปี้ยน นางเล้งเฮียง แซ่อง สร้าง” และที่บันไดว่า “สวาสดี-เลื่อน ถิรพัฒน์

            สร้างอุทิศส่วนกุศลให้แก่ แม่หมี จังกาจิตต์ (๑ มกราคม ๒๔๙๓) ประกิจ-ประยงค์
            สุขรัตน์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดามารดาผู้มีพระคุณ (๑ มกราคม ๒๔๙๕) นางตุ่น

            สร้างอุทิศแด่ พี่วิชิต โกศัลวิตร์ (๑๘ มีนาคม ๒๔๙๖)”
                        ในวิหารมีพระเจ้าใหญ่องค์หลวงเป็นพระประธาน เป็นที่สวดมนต์
            ท�าวัตรเย็นของพระภิกษุสามเณร และประกอบพิธีทางศาสนา เช่น ถวายผ้าป่า

            ทอดกฐิน เจริญพระพุทธมนต์ ด้านหลังเป็นห้องพักของพระภิกษุสามเณร
   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294