Page 290 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 290
282 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
ใต้ถุนเป็นที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ของวัด
๒.๒ พระเจ้าใหญ่องค์หลวง
พระประธานในวิหารคือพระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระพุทธรูป
ปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง ๒.๕ เมตร สูง ๓.๙ เมตร
สร้างใน พ.ศ. ๒๓๒๑-๒๓๓๔ หลังจากเจ้าค�าผงกลับจากติดตามไปราชการปราบ
กบฏที่เขมร โดยช่างจากหลวงพระบางหรือเวียงจันทน์ มีพระมหาราชครู
ท่านหอ (แก้ว) เป็นเจ้าอาวาส มีพระนามตามชื่อวัดและชื่อของเจ้าเมืองคือ
เจ้าค�าผง ซึ่งชาวเมืองเรียกท่านว่า อาชญาหลวงเฒ่า ประกอบพิธีสมโภช ๓ วัน
๓ คืน อัญเชิญทวยเทพยดาอารักษ์มาปกปักรักษา ส่วนฐานเรือนแก้วสร้างในปี
พ.ศ. ๒๔๙๕ และมีการปฏิสังขรณ์พระพักตร์และองค์พระที่ช�ารุดเพราะการรื้อ
วิหารหลังเก่าใน พ.ศ. ๒๔๙๗ (อรทัย เลียงจินดาถาวร และคนอื่น ๆ ๒๕๔๗:
๓๘)
๒.๓ พระแก้วไพฑูรย์
พระแก้วไพฑูรย์เป็นพระแก้วผลึกสีขาวเนื้อใสปางสมาธิ หากส่อง
ดูใต้ฐานจะมองเห็นสายฝนเสมือนโปรยปรายลงมาจากฟ้า จึงเป็นพระพุทธรูปที่
บันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลให้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ พระแก้ว
ไพฑูรย์เป็นสมบัติของเจ้านายบรรพบุรุษของเจ้าค�าผงคู่กับพระแก้วบุษราคัม
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทายาทเจ้าเมืองเกรงว่าพระแก้ว ๒ องค์นี้จะถูกขอไปที่
กรุงเทพมหานครจึงน�าพระแก้วบุษราคัมไปถวายท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ซึ่งเป็น
สัทธิวิหาริกของรัชกาลที่ ๔ เป็นผู้รักษาไว้ที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)
ส่วนพระแก้วไพฑูรย์ทายาทของเจ้าค�าผงรักษาไว้เองสืบทอดมาจนถึงนายบ�าเพ็ญ
ณ อุบล จึงได้น�ามาถวายแด่พระครูวิลาสกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวง ให้เป็นเป็น
สมบัติของวัดหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ (สุริยา โชคสวัสดิ์ และสุพัฒน์ เงาะปก
๒๕๕๐: ๒๕-๒๖)