Page 292 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 292
284 วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี
ในคราวปฏิสังขรณ์วัด พ.ศ. ๒๔๕๔ (สุริยา โชคสวัสดิ์ และสุพัฒน์ เงาะปก ๒๕๕๐:
๔๐) เดิมประดับกระจกสี ปัจจุบันทาสีแดงและทอง
๒.๗ คัมภีร์ใบลาน
คัมภีร์ใบลานของวัดหลวงเหลืออยู่ไม่มากนัก แม้ว่าวัดหลวงจะได้
ชื่อว่าเป็นส�านักเรียนมูลกัจจายน์ใหญ่ในอดีต เคยมีตู้พระธรรมเก็บคัมภีร์ใบลาน
ไม่น้อยกว่า ๖ หลัง ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอศิลป์ราชธานีศรีวนาไล วิทยาลัย
อาชีวศึกษาอุบลราชธานี ๒ หลัง และจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุบลราชธานี ๒ หลัง เล่ากันว่า “หนังสือในตู้วัดหลวงมีอยู่ร้อยกว่ามัด ส่วนมาก
เป็นภาษาบาลี สมกับเป็นส�านักเรียนมูลกัจจายน์โดยแท้” (ปรีชา พิณทอง
๒๕๓๘: ๑๖๖) เนื่องจากสงครามอินโดจีนในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๘ เสื้อผ้า
หายากมีราคาแพง มีผู้น�าผ้าห่อคัมภีร์ไปขาย คัมภีร์ใบลานจึงแตกผูกจน
รกรุงรัง ทางวัดจึงเก็บใส่กระสอบฝังดิน ใบลานส่วนใหญ่จึงสูญหายไป
(อรทัย เลียงจินดาถาวร และคนอื่น ๆ ๒๕๔๗: ๓๘) ปัจจุบันมีคัมภีร์ใบลานเก็บ
รักษาไว้ในตู้พระธรรมที่สร้างใหม่ ๒ หลัง ผศ. ดร. บุญชู ภูศรี คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ส�ารวจและจัดระบบเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒
มีคัมภีร์ฉบับพิมพ์ภาษาไทย ๘๖ เรื่อง ส่วนคัมภีร์อักษรไทยน้อย อักษรธรรม
อีสานและอักษรขอมมีน้อยแต่เก่าแก่มาก เช่น คัมภีร์ที่สร้างโดยสมเด็จพระราช
กุมาร พ.ศ. ๒๒๐๘ สร้างโดยแก้วมุงคุล พ.ศ. ๒๒๑๗ และสร้างโดยพระเจ้าอนุวงศ์
พ.ศ. ๒๓๕๗
๒.๘ อนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าค�าผง)
รูปหล่อเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าค�าผง) เจ้าเมือง
อุบลราชธานีองค์แรก ซึ่งพระครูวิลาสกิจจาทร (๒๕๖๒: สัมภาษณ์) เจ้าอาวาส
วัดหลวงด�าริว่า “เจ้าค�าผงเป็นผู้สร้างวัดหลวง อัฐิของท่านก็อยู่ในวัดหลวง
แต่ไม่มีรูปเหมือนของท่านในวัดหลวง” ชาวอุบลจึงร่วมกันสร้างเมื่อวันที่ ๒๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อเป็นศูนย์รวมในการประกอบพิธีบวงสรวง สักการะ