Page 293 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 293
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 285
และสดุดีวีรกรรมในคุณงามความดีที่ท่านได้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีมาแต่ พ.ศ.
๒๓๒๐
๒.๙ คัมภีร์ใบลาน
วัดหลวงมีโบราณวัตถุและศิลปวัตถุส�าคัญจ�านวนมาก ทั้งที่เป็น
ของวัดมาแต่เดิมและน�ามาจากวัดอื่น หลายชิ้นน�าไปเก็บรักษาและจัดแสดงที่
วิทยาลัยอาชีวศึกษา อุบลราชธานี ได้แก่ พระพุทธรูป ตู้พระธรรม กากะเยีย ฮาง
หดสรง ผ้าผะเหวด ผ้าพระบฏ เป็นต้น สิ่งที่ยังรักษาไว้ในวัดโดยเจ้าอาวาส เช่น
- จารึกการปฏิสังขรณ์วิหารหลังเก่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นอักษร
ไทย ๑ บรรทัด เป็นชิ้นส่วนของวิหาร
- พระพุทธรูปของเก่า สร้างจากหิน ปูนปั้น ไม้ ส�าริด
- พระเงินบุ ขุดได้จากธาตุของพระมหาราชครูท่านหอ (แก้ว)
- บันไดแก้ววางหนังสือโบราณ บ�าเพ็ญ ณ อุบล ถวายแด่วัดหลวง
- ชิ้นส่วนประกอบของอาคารเก่าของวัด เช่น โหง่ (ช่อฟ้า) คันทวย
หูช้าง บานประตู บานหน้าต่าง
- เรือไม้ขุดโบราณ ๒ ล�า
- โปงไม้
๓. ประวัติความเป็นมา
วัดหลวงเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น�้ามูล
ระหว่างท่ากวางตุ้งกับท่าจวน (ตลาดใหญ่) มีเนื้อที่ราว ๑๐ ไร่ มีอาณาเขตทิศ
เหนือจดถนนพรหมราช ทิศตะวันตกจดตลาดเทศบาล ๓ ทิศใต้จดริมแม่น�้ามูล
และทิศตะวันออกจดบ้านเรือนประชาชน สร้างขึ้นเป็นวัดแรก ๆ ของเมือง
อุบลราชธานีร่วมสมัยกับวัดเหนือ วัดกลาง วัดเหนือท่า ฯลฯ ผู้สร้างคือ
เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าค�าผง) เจ้าเมืององค์แรกราว พ.ศ. ๒๓๒๒
หลังจากกลับจากราชการศึกที่เขมร ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๒๔ มีการปฏิสังขรณ์วัด
ได้สร้างพระเจ้าใหญ่องค์หลวงและเสนาสนะต่าง ๆ โดยช่างฝีมือดีจากเวียงจันทน์