Page 31 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 31
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 23
พระอุโบสถหลังนี้จ�าลองแบบมาจากพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร
ดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารทรงจัตุรมุข หลังคาลด ๕ ชั้น ประดับ
ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ กลางหลังคาปักฉัตรโลหะโปร่ง ๙ ชั้น หันหน้าไปทาง
ทิศตะวันออก มีมุขหน้าและมุขหลังเปิดโล่ง ส่วนมุขทางทิศเหนือและทิศใต้ต่อ
ยาวออกไป มีซุ้มประตูหน้าต่างท�าด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผา ซุ้มประตูและ
หน้าต่างกรุกระจกสี บานประตูหน้าต่างเป็นไม้แกะสลักรูปยักษ์ หนุมาน
เทพบุตร และเทพธิดา มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ทิศ บนฐานไพทีของมุขด้านหน้า
และด้านหลังมีช้างหล่อด้วยโลหะด้านละ ๑ คู่ ทางเข้าพระอุโบสถมี ๓ ทางคือ
ทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ ส่วนทิศตะวันตกเป็นซุ้มประดิษฐาน
พระพุทธรูปปางห้ามญาติ หน้าบันด้านทิศตะวันออกเป็นรูปพระปฐมเจดีย์
หน้าบันทิศตะวันตกเป็นพระเจดีย์จุฬามณี ส่วนหน้าบันทิศเหนือและทิศใต้
ช่วงบนเป็นรูปเทพพนม ช่วงล่างเป็นรูปเสมาธรรมจักร หน้าบันด้านทิศเหนือมี
ข้อความว่า “เจ้าคุณธรรมวราภรณ์ ในความอุปการะของพระครูวิจิตรธรรมภาณี
โดย ตุ่น โกศัลวิตร” หน้าบันทางทิศใต้ มีข้อความว่า “ตุ่น สร้าง ๒๕๐๙” ในซุ้ม
เหนือหน้าต่างมีภาพปูนปั้นรูปดอกบัวบาน มีพระนามาภิไธยย่อ อร ในสมเด็จ
พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี องค์อุปถัมภ์วัด
(คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๑๘๕-๑๘๙)
ในพระอุโบสถประดิษฐานพระแก้วบุษราคัมและพระพุทธ
ทิพยเนตร ที่ประตูทางเข้าทิศตะวันออกด้านซ้ายจารึกรายนามผู้บริจาคทรัพย์
สร้างพระอุโบสถ เพดานสีแดงมีดาวเพดานไม้แกะสลักประดับกระจกสี ผนังด้าน
ในเจาะช่องคูหาทรงพนมยอดแหลม เขียนภาพจิตรกรรมเป็นพระสถูปเจดีย์ส�าคัญ
ได้แก่ พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง จ.สุโขทัย, พระเจดีย์
วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา, พระธาตุหริภุญไชย จ.ล�าพูน,
พระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช, พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม พระธาตุพนม
จ.นครพนม และพระมหาธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี (จุฬาลงกรณ์