Page 32 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 32

24   วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          มหาวิทยาลัย ๒๕๕๙: ๔๓) รอบพระอุโบสถประดับใบเสมาศิลาแลง ศิลปะ

          ทวารวดี ซึ่งพระครูวิจิตรธรรมภาณี (เขโม เล็ง) น�ามาจากบ้านน�้าอ้อม
          ต.ยางโยภาพ อ. ม่วงสามสิบเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๖ จ�านวน ๕ ใบ (พระครูวิมล
          อุปลารักษ์ ๒๕๖๒: สัมภาษณ์)

                     พระอุโบสถหลังนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๗
          กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร นอกจากเป็นที่ท�า

          สังฆกรรมและประดิษฐานพระพุทธรูปส�าคัญแล้ว ยังเป็นสถานที่ท�า กิจกรรม
          ต่าง ๆ ได้แก่ การท�าวัตรสวดมนต์ พิธีเจริญพระพุทธมนต์สามัคคี พิธีรับเทียน
          พรรษาพระราชทาน พิธีรับสัญญาบัตรพัดยศของเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาส

          พิธีเวียนเทียนในวันส�าคัญทางพระพุทธศาสนา รับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์
          พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์และต้อนรับบุคคลส�าคัญ เป็นที่ที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

          ของจังหวัดมานมัสการพระแก้วบุษราคัมเมื่อมารับต�าแหน่งและพ้นจาก
          ต�าแหน่ง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวส�าคัญของจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย
          (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๕๙: ๔๔-๔๕)

               ๒.๒ ศาลาการเปรียญและพิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม
                     ศาลาการเปรียญ  (หอแจก)  สร้างในสมัยพระศาสนดิลก

          (ชิตเสโน เสน) เป็นเจ้าอาวาส เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยขยับออกจากที่หอแจก
          เดิม ๕ เมตรเมื่อคราวสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นหอแจกไม้จิกรูปทรงสี่เหลี่ยม
          ผืนผ้า หลังคาจั่วมีปีกนกครอบ ตกแต่งด้วยเครื่องล�ายองนาคสะดุ้งแบบอีสาน

          หน้าบันทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นรูปเทพพนม (คณะกรรมการด�าเนิน
          การจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๑๙๓)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37