Page 35 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 35
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 27
ให้พุทธศาสนิกชนสรงน�้าและเป็นการเปิดงานสงกรานต์ของจังหวัดอุบลราชธานี
ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี (คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก
๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๒๐๙)
๒.๕ พระพุทธทิพยเนตร
พระพุทธทิพยเนตรเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย
ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร สูง ๒ เมตร เคยเป็น
พระประธานในสิมหลังเก่า นายหมุน โสมะฐิติ สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปองค์นี้
สร้างในสมัยพระอริยกวี (ธมฺมรกฺขิโต อ่อน) เป็นเจ้าอาวาสราว พ.ศ. ๒๔๔๑
เพราะเป็นช่วงที่มีการพัฒนาวัดหลายอย่าง (คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�า
หนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๒๑๑)
๒.๖ พระทองทิพย์
พระทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปส�าริด ปางห้ามสมุทร (ปางประทาน
อภัย) สูง ๑๔๔ ซม. เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อค�า) เจ้าเมือง
อุบลราชธานีองค์ที่ ๔ อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ครั้งไปปราบฮ่อ เดิมใช้เป็น
พระพุทธรูปแห่น�าขบวนงานท�าบุญตักบาตรเทโวโรหนะที่ทุ่งศรีเมือง
(คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๒๑๐) บ�าเพ็ญ
ณ อุบล (๒๕๕๓: ๑๕๑) กล่าวถึงพระทองทิพย์ไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปที่งามมาก
จ�าลองมาจากพระบางแห่งนครหลวงพระบาง
พระทองทิพย์ประดิษฐานบนแท่นไม้ขาสิงห์ ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมยก
มุมไม้สิบสอง กว้างด้านละ ๒๒ นิ้ว สูง ๓๑ นิ้ว แกะสลักจากไม้ ตกแต่งด้วยลาย
กระแหนะ ปิดทองค�าเปลวและเขียนสี ฐานสลักอักษรธรรมเป็นภาษาอีสานทั้ง
๔ ด้านด้านละ ๓ บรรทัด พระครูวิมลอุปลารักษ์ (ชุติปญฺโญ สมบัติ) แปลไว้ดังนี้
“เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๘ ปีกุน สัปตศก เดือน ๘ แรม ๑๔ ค�่า
วันเสาร์ เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี ยกทัพไปตีฮ่อที่เมือง
หนองคายมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรูแล้ว จึงนิมนต์พระพุทธรูปทองทิพย์โบราณ