Page 34 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 34

26   วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


                     หอแจกนี้นอกจากจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเป็นสถานที่ปฏิบัติ

          ธรรมของพุทธศาสนิกชน ถวายสังฆทาน ท�าวัตรเช้า-เย็น ฟังพระธรรมเทศนาใน
          วันอุโบสถ และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมส�าคัญทางพระพุทธศาสนา
          ส่วนชั้นล่างเป็นสถานที่จัดภัตตาหารและฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณร

          (คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๑๙๔)
               ๒.๓ หอระฆังหลังเก่า

                     หอระฆังหลังเก่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ มีขนาด ๓ x ๓ เมตร
          สูงสองชั้นหลังคามุงสังกะสีมีคันทวยรองรับทั้ง ๔ ด้าน มีเชิงชายคา เสากลม
          ๔ เสา ประดับลูกกรงแกะสลักลวดลายทั้งสองชั้น ชั้นบนเป็นที่แขวนระฆัง

          มีบันไดอยู่ภายใน ฐานล่างเป็นพื้นปูน ผู้สร้างคือพระยาราชเสนา (ทัด ไกรฤกษ์)
          ข้าหลวงก�ากับราชการเมืองอุบลราชธานีพร้อมบุตรชายคือ หลวงภักดีณรงค์

          (สิน ไกรฤกษ์) ขุนพรพิทักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) และมหาดเล็ก (รอด ไกรฤกษ์)
          ต่อมาได้ย้ายจากที่เดิมไปปลูกไว้ด้านหลังหอแจกโดยรักษารูปทรงเดิมไว้
               ๒.๔ พระแก้วบุษราคัม

                     พระแก้วบุษราคัมเป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากแก้วบุษราคัม
          (แก้วมณีสีเหลือง) ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว หุ้มเม็ด

          พระศกด้วยทองค�า ประดับสังวาล ฐานหุ้มด้วยทองค�า เป็นสมบัติของ
          เจ้าปางค�าตกทอดมายังพระวอพระตาและเจ้าค�าผงผู้สร้างเมืองอุบลราชธานี
          เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดหลวง ต่อมาอัญเชิญมารักษาไว้ที่วัดศรีทองเพื่อป้องกัน

          ข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ที่อาจจะขอไปทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง พระแก้วบุษราคัม
          ประดิษฐานอยู่ในหอค�าหรือหอแก้ว (บุษบก) ฝีมือของพระครูสีทา ชยเสโน

          อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๒
                     พระแก้วบุษราคัมเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
          อุบลราชธานี ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เคยใช้เป็นพระพุทธรูปในพิธี

          ถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ปัจจุบันมีการอัญเชิญแห่รอบเมือง
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39