Page 36 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 36

28   วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี


          แต่บ้านถิ่นแก้วมาเมืองอุบลราชธานี สังฆะสามัคคีภายในมีท่านเทวธัมมีวัดศรี

          ทองเป็นเค้า ภายนอกมีเจ้าพรหมเทวาเจ้าเมืองอุบลเป็นประธาน พร้อมกันสร้าง
          แท่นพระทองทิพย์องค์นี้ไว้ในพระศาสนาเพื่อให้เป็นที่ไหว้และบูชา แห่งคน
          และเทวดาทั้งหลายตราบต่อเท่า ห้าพันพระวัสสานิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ”

          (คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๒๑๐)
               ๒.๗ พระพุทธรูปในศาลาการเปรียญ

                     ในศาลาการเปรียญประดิษฐานพระพุทธรูป ๓ องค์ มีพุทธลักษณะ
          งดงาม ประดิษฐานในบุษบกไม้ทรงสี่เหลี่ยมเครื่องยอด ศิลปะอีสาน แกะสลัก
          ตกแต่งด้วยกระแหนะรักปั้นปิดทอง แต่ละองค์มีลักษณะดังนี้

                     องค์ที่ ๑ เป็นพระประธานประดิษฐานในบุษบกองค์กลาง ปางมาร
          วิชัย ขัดสมาธิเพชร แกะสลักจากไม้กันเกรา ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๓๐ เมตร

          (๔ คืบพระสุคต) สูง ๑.๘๐ เมตร ลงรักทาชาด ปิดทองค�าเปลว สร้างในสมัยท่าน
          เทวธมฺมี (ม้าว) เป็นเจ้าอาวาส (คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก
          ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๒๑๓)

                     พระพุทธรูปองค์ที่  ๒  ประดิษฐานในบุษบกด้านซ้ายของ
          พระประธาน ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ แกะสลักจากไม้กันเกราที่เหลือจาก

          พระประธาน ที่ฐานเขียนลายรดน�้ามีจารึกอักษรธรรมที่ด้านหลัง พระครูวิมล
          อุปลารักษ์ (ชุติปญฺโญ สมบัติ) แปลไว้ว่า “ฝูงข้าทั้งหลายภายในมีหัวเจ้าครู
          เทวธมฺมีเป็นเค้า กับทั้งลูกเต้าศิษย์ โยมภายนอก มีเจ้าพระอุปราดเป็นประธาน

          พร้อมกันสร้างพระพุทธประติมากร องค์นี้ไว้ในพระศาสนา ใส่ชื่อว่า พระชินราช
          เมื่อพุทธศักราชล่วงแล้วได้ ๒๔๐๘ พระวัสสา เพื่อจัดให้ เป็นที่ไหว้และบูชา

          แก่คนและเทวดาทั้งหลายตราบต่อเท่าสิ้นศาสนา”
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41