Page 33 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๕ (ตุลาคม ๒๕๖๒ - พฤษภาคม ๒๕๖๓) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 33
วัดในเขตอ�ำเภอเมืองอุบลรำชธำนี จังหวัดอุบลรำชธำนี 25
หอแจกหลังนี้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๕
โดยปรับปรุงใต้ถุนให้เป็นตึกก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นไม้ของเดิม หลังคามุงด้วย
วัสดุโลหะสังเคราะห์ดูคล้ายกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์รูปนาค
เบือนที่มุมชายคาทั้ง ๔ มุมหล่อด้วยเรซิ่นซึ่งถอดแบบจากนาคเบือนของเดิม
หน้าบันทิศตะวันออกเป็นรูปเทพนมล้อมรอบด้วยลายกนก หน้าบันด้านทิศตะวัน
ตกเป็นรูปดอกไม้ล้อมรอบด้วยลายกนก มีประตูและบันไดทางขึ้นเหลือ ๓ ทาง
คือ ทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ ส่วนทิศตะวันตกรื้อถอนไปแล้ว ชั้นบน
มีหน้าต่างโดยรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปส�าคัญ ๓ องค์ในบุษบก
(คณะกรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๑๙๓-๑๙๔)
ประตูมีกรอบเช็ดหน้า กรอบตอนบนและอกเลาตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลวดลาย
หน้าต่างมีกรอบเช็ดหน้าเหมือนประตูเป็นกรอบเท้าสิงห์มีลูกกรงเล็ก ๆ
ที่ขอบล่าง แต่ละช่องสลักลวดลายแตกต่างกัน มุมทั้ง ๔ ของผนังศาลาประดับ
ด้วยไม้แกะสลักเหมือนเสาประดับกรอบประตูปราสาทหินอย่างงดงาม
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๕๙: ๕๑) เล่ากันว่าเป็นฝีมือของพระครูสีทา
ชยเสโน (คณะ กรรมการด�าเนินการจัดท�าหนังสือที่ระลึก ๑๕๐ ปี ๒๕๔๙: ๑๕๖)
พระราชธรรมสุธี (สุขวฑฺฒโน ทองคู่) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
ได้เริ่มบูรณะหอแจกโดยยกให้สูงขึ้น ๑.๕๐ เมตร เลื่อนไปทางทิศเหนือ ๕ เมตร
และไปทางทิศตะวันตก ๗ เมตร ท�าฐานรากอาคารและท�าชั้นล่างเป็น
คอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับบัวปูนปั้น ด้วยเงินกองทุนบูรณะหอแจก
วัดศรีอุบลรัตนารามซึ่งได้จากงานนิทรรศการบ้านค�าปุน ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นต้นมา (โดยนายมีชัย แต้สุจริยา และกลุ่มมูนเมือง) และได้บริจาคเงิน
ต่อเนื่องมาทุกปี กับทั้งมีผู้บริจาคสมทบจนมีการบูรณะภายนอกแล้วเสร็จใน
พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม มีการจัดแสดงโบราณ
วัตถุ ศิลปวัตถุส�าคัญของวัด ได้แก่ พระพุทธรูป ตู้พระธรรม คัมภีร์ใบลาน ผ้าห่อ
คัมภีร์ ฮางหดสรง ชิ้นส่วนโหง่ (ช่อฟ้า) รวยระกา หางหงส์เดิมของหอแจก เป็นต้น