Page 28 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 28
กลองทัด (ลูกเดียว) และฉิ่ง ส่วนมโหรีก็เครื่องหก ได้แก่ ซอสามสาย กระจับปี่ โทน
ร�ามะนา ขลุ่ย และฉิ่ง เป็นสิ่งที่รับมาจากปลายสมัยอยุธยา ส่วนเครื่องสายนั้น
ถึงอย่างไรก็มีเต็มวง จ�านวนจะมากน้อยเพียงใดไม่ทราบเพราะว่าเครื่องสายนั้น
แม้แต่ในสมัยอยุธยาก็มีสมบูรณ์อยู่แล้ว” (มนตรี ตราโมท ๒๕๓๘ : ๑๗)
แสดงให้เห็นว่าวงดนตรีในสมัยกรุงธนบุรีจึงน่าจะมีครบทั้ง ๓ ประเภท คือ
ปี่พาทย์ เครื่องสาย และมโหรี ที่มีมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะวงปี่พาทย์
ได้ปรากฏบทบาทหน้าที่นอกจากใช้เป็นเครื่องประโคมและประกอบการแสดง
แล้ว ยังใช้ในการศึกสงคราม ซึ่งปรากฏจากหนังสือไทยรบพม่าของสมเด็จฯ
กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ความว่า
“ ถึงวันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑๑ ค�่า เจ้าพระยาทั้งสองได้ทราบความว่า กองทัพ
หลวงล่าถอยไปแต่วันก่อนแล้ว จึงให้เจ้าหน้าที่ระดมยิงปืนใหญ่น้อยหนายิ่งกว่า
ทุกวันตั้งแต่เวลาเช้าจนค�่า และในวันนั้นให้เอาปี่พาทย์ขึ้นไปตีตามป้อมให้ข้าศึก
ได้ยินเสียงประโคมลวงให้พม่าเข้าใจว่า ตระเตรียมจะตั้งต่อสู้อยู่ในเมืองให้นานวัน
พระราชทานเบี้ยเลี้ยงผู้ที่มาเล่นนั้น...พระยารามัญวงมโหรีมอญ คนเพลง ชาย ๒
หญิง ๒ พิณพาทย์ฯ...หมื่นเสนาะภูบาล...พิณพาทย์ไทย ๕ รามัญ ๕ ลาว ๑๕”
(สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ๒๕๕๕ : ๔๙๙)
กล่าวคือ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังด�ารงพระยศ
เป็นเจ้าพระยาจักรี และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยังเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์
ทรงรักษาเมืองพิษณุโลกและก�าลังต่อสู้กับกองทัพของอะแซหวุ่นกี้ ช่วงที่ทัพพม่า
ล้อมเมืองจนหมดเสบียงอาหาร กองทัพจากธนบุรีของพระเจ้าตากได้ยกออกไปช่วย
ตีข้าศึก ออกจากที่ล้อมไม่ได้ จึงทรงมีพระราชด�าริเป็นกลอุบายใช้วงปี่พาทย์ประโคม
บนหอรบให้ครึกครื้นอย่างสนุกสนานเพื่อลวงให้ข้าศึกส�าคัญว่าจะรักษาเมืองต่อไป
ถือเป็นพระปรีชาสามารถของทั้ง ๒ พระองค์ที่ติดอยู่ในวงล้อมของพม่า ยังมีความ
คิดในการใช้ดนตรีเป็นกลศึกส่วนหนึ่งในการท�าสงครามจนได้รับชัยชนะและ
เรื่องราวทางดนตรีในจดหมายเหตุความทรงจ�าของกรมหลวงนรินทรเทวีและ
พระราชวิจารณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากข้อความ
ในหมายรับส่งในการเสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ว่า
26 วัฒนศิลปสาร