Page 31 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 31

กราบทูลพระกรุณาจะให้มีเครื่องเล่นแต่โขนโรงใหญ่ ๒ โรงๆละ ๗ ต�าลึง วันละ

          ๑๔ ต�าลึง หว่าระทาโขน ๑ โรง ร�าหญิง ๑ โรง หุ่นมอญ ๑ โรง หนังกลางวัน ๑ โรง
          งิ้ว ๑ โรง หุ่นลาว ๒ โรง (รวม) ๗ โรง ๆ ละ ๒ บาท วันละ ๓ ต�าลึง ๒ บาท จึงทรง
          พระกรุณาโปรดเกล้าฯสั่งว่า โขนโรงใหญ่เดิมวันละ ๗ ต�าลึง ขึ้นวันละ ๓ ต�าลึงเป็น

          วันละ ๑๐ ต�าลึง ตามอย่างฉลองพระแก้ว โขน หนัง หว่างระทานั้นโรงหนึ่งเดิม
          วันละ ๒ บาท ขึ้นอีกวันละ ๒ บาทเป็นวันละ หนึ่งต�าลึง หนังโรงใหญ่โรงหนึ่ง

          เดิมคืนละ ๑ ต�าลึง ๒ บาท ขึ้นอีกคืนละ ๓ ต�าลึง ๒ บาท เป็นคืนละ ๕ ต�าลึง
          แลรามัญเก่าร�าเดิมวันละ ๒ ต�าลึง ๒ บาทให้ลดลงเสียคงให้แต่วันละ ๒ ต�าลึง รามัญ
          ใหม่ร�าเดิมวันละ ๑ ต�าลึง ๒ บาท ให้ลดลงเสีย ๒ บาท คงให้วันละ ๑ ต�าลึงละคร

          โรงใหญ่โรง ๑ คงวันละ ๑๐ ต�าลึง หุ่นลาวโรงใหญ่โรง ๑ คงวันละ ๖ ต�าลึง งิ้วญวน
          โรงหนึ่งคงวันละ ๒ ต�าลึง ๒ บาท แต่ญวนหกคนต่อเท้านั้นชอบเป็นการสมโภช”

          (สุเนตร ชุตินธรานนท์ อ้างถึง ประชุมหมายรับสั่งภาคที่ ๑ สมัยธนบุรี ๒๕๕๕ : ๑๔๒)
               หลักฐานส�าคัญของวงดนตรีชาวต่างชาติในสมัยธนบุรีที่ส�าคัญ คือวงดนตรี
          ของชาวมอญที่ปรากฏในงานสมโภชพระแก้วมรกต และได้มีพัฒนาการของการน�า

          มาใช้ในสมัยต่อมา ซึ่งได้มีข้อสันนิษฐานซึ่งน่าจะเกิดจากการน�าวงดนตรีต่างชาติ
          เริ่มเข้ามาประกอบกับงานต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยธนบุรี คือ

               “คนไทยในสมัยปัจจุบันยึดถือกันว่า ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงแต่งานศพเท่านั้น
          ที่เป็นดังนี้คงเป็นด้วยในสมัยก่อนได้เห็นปี่พาทย์มอญที่มาบรรเลงในงานของไทยก็
          แต่ในงานพระบรมศพ เมื่อออกพระเมรุปี่พาทย์ประโคมอยู่ตลอดเวลา เพราะปี่พาทย์

          ไทยซึ่งเป็นของหลวงนั้นบรรเลงเฉพาะเวลาทรงธรรมเท่านั้น เมื่อเห็นแบบดังนี้
          จึงค่อย ๆ เอาอย่างกันต่อ ๆ มา เมื่อมีงานศพท่านผู้ใหญ่ อันเป็นที่เคารพนับถือหรือ

          บุคคลชั้นสูง ก็จะหาปี่พาทย์มอญมาประโคมเป็นเกียรติและยึดถือแบบอย่างสืบมา”
               และข้อสันนิษฐานนี้ได้เริ่มยอมรับจากการพิสูจน์หลักฐานเชิงประวัติศาสตร์
          ต่อมาว่า

               “  เมื่อคราที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด
          ฟ้าจุฬาโลกถึงแก่สวรรคตนั้นโดยที่พระองค์ท่านเป็นกุลสตรีในตระกูลเชื้อสายมอญ

          ย่านบางช้างอัมพวา (พระนามเดิม “ท่านนาค”) ดังนั้นในงานพระราชพิธีถวาย


                                                                   วัฒนศิลปสาร  29
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36