Page 30 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 30
มามีส่วนร่วมในงานพิธีต่าง ๆ ทั้งในพระราชพิธีของหลวง และพิธีของราษฎร์
ดังปรากฏอยู่ในเอกสาร โดยเฉพาะงานสมโภชหรือเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ ที่ใน
สมัยธนบุรีจะจัดให้มีมหรสพและการละเล่นอยู่เป็นจ�านวนมาก เช่น ในจดหมายเหตุ
ความทรงจ�าฯ ได้กล่าวถึงดนตรี การละเล่นและมหรสพในงานฉลองต่าง ๆ คือ
“ณ เดือน ๑๒ ฉลองวัดสระเกศ มีพระโองการรับสั่งให้ข้างหน้าข้างในตั้ง
เลี้ยงพระให้สิ้นทั้งวัด ประทานเงินหลวงกัลปพฤกษ์ โปรยทาน การมหรสพสมโภช
เสร็จ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอหลานเธอแต่งเรือประพาสคู่เคียง ประสานเสียงร้อง
ดอกสร้อยสักรวา ดุริยางค์จ�าเรียงถวายล�าร้องรับกับเสสียงดอกไม้น�้า สทาโป้งปีบ
ไฟพะเนียงพุ่มพลุกรวด เสียงสนั่นครื้น แผ้วพื้นเมฆา จันทราทรงกลด หยุดยั้งรถ
โมทนาทานเจ้าหล้าเหลือแหล่ พึ่งแผ่พระบารมี สมโภชครบสัตตวาร เสร็จการฉลอง
วัด” หรืองานชักพระพุทธรูป ที่วัดสุทัศน์เทพธาราม ดังนี้
“ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ แรม ๒ ค�่า ชักพระพุทธรูป ทรงเลือนชักแห่ประโคม
ฆ้องกลองชัยชนะครื้นครั่น สนั่นเสียงมโหรีจีนไทยแขกมอญ มีโรงโขนละคร งิ้วมอญ
ร�าหุ่น ฝุ่นเมืองเหนือหนุนมานมัสการ ทั้งได้ดูงานสมโภช สมเด็จพระเจ้ารามาธิ
บดินทร์บรมบาท เสด็จทรงพระราชยาน เสด็จตามชินาจารย์พระพุทธองค์ ประทับ
ทรงเสด็จยังพลับพลา แล้วชะลอเลื่อนข้ามตะพานมาตลอดพ้น ราษฎรกล่นเกลื่อน
กว่าหมื่นพัน ชวนกันมาวันทา เข้าชักพร้อมหน้าจนถึงที่ สถิตสถานพระอุโบสถปรากฏ
การมหรสพสมโภช ส�าเนียงเสียงเสนาะโสต ปราโมทย์โมทนา พิณพาทย์ท�าบูชาสัก
๑๐๐ วง ฉลองพระพุทธองค์ชินวร สโมสรแสนเกษมเปี่ยมเปรมอิ่มด้วยศรัทธา
ถ้วนหน้าประชาชน พระโองการรับสั่งขนานนามวัด ให้ชื่อวัดสุทัศน์เทพธาราม”
นอกจากงานรื่นเริงหรืองานฉลองที่ปรากฏแล้วนั้น ในงานอื่น ๆ เช่น งาน
อวมงคลต่าง ๆ ก็ได้มีเรื่องราวของดนตรีเช่นกัน ดังในหมายรับสั่งเรื่องการ
พระราชทานเพลิงพระศพพระราชมารดา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์
จุลศักราช ๑๑๔๒ (พ.ศ. ๒๓๒๓) ซึ่งเล่าถึง “เครื่องเล่นการพระศพ” ครั้งนั้นว่า
“วันพฤหัสแรม ๗ ค�่าเดือน ๖ ปีชวด โทศกเพลาเช้าเสด็จออกท้องพระโรง
ทรงพระกรุณาตรัสถาม ด้วยเครื่องเล่นการพระศพมารดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
ออกไปพระราชทานเพลิง ณ วัดบางยี่เรือนอก จะให้มีสิ่งไรบ้าง เจ้าพระยาจักรี
28 วัฒนศิลปสาร