Page 29 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 29
“ครั้ง ณ วันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๒ ค�่า เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ณ
พระต�าหนักบางธรณี ครั้นเวลาบ่าย ๓ โมง ทรงให้แห่ลงมานครธนบุรี กระบวนแห่
หน้าเครื่องเล่นโขนลงสามป้านหลวงรักษาสมบัติหนึ่ง งิ้วลงสามป้านพระยาราชา
เศรษฐีหนึ่ง หลวงรักษาสมบัติหนึ่ง (รวมงิ้ว ๒ ล�า) ละครไทยหมื่นเสนาะภูบาล
ล�าหนึ่ง หมื่นโวหารภิรมย์ล�าหนึ่ง ละครเขมรหลวงพิพิธวาที่ลงเรือสามป้านล�าหนึ่ง
หุ่นลาวลงเรือกุแหละล�าหนึ่ง ชวาร�าหน้าร�าหนึ่ง มโหรีไทยหลวงอนุชิตรารา มโหรี
ฝรั่งหลวงศรียศ มโหรีเขมรพระองค์แก้วล�าหนึ่ง” (ยุพร แสงทักษิณ ๒๕๓๓ : ๒๑๓)
หรือที่กล่าวในงานเรื่องรับพระแก้วมรกต ที่อัญเชิญเข้ามาในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ปรากฏอยู่ในหมายรับสั่ง เรื่องโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้ว
ที่ท่าเจ้าสนุก จังหวัดสระบุรี จ.ศ. ๑๑๔๑ ความตอนหนึ่งว่า
“ครั้น ณ วันอังคาร ขึ้น ๒ ค�่า เดือน ๔ เพลาบ่ายสองโมง แห่พระแก้วมรกต
ลงมา ณ พระนครธนบุรี มาขึ้นสะพานป้อมต้นโพธิ์ปากคลองนครบาล สัสดีเกณฑ์
ให้ตั้งฉัตรเบญจรงค์ราชวัติเลว รายทางล้อมโรงพระแก้วมรกต เจ้าพนักงานสี่ต�ารวจ
เชิญพระเสลี่ยงไปรับพระแก้วมรกต พระบาง กรมวังเกณฑ์เครื่องสูงลงไปรับเครื่อง
สูง ๕ บังแทรก ๓ รวม ๘ คู่ พันพุฒเกณฑ์คู่แห่ถือดอกบัวเดินเท้า ๒๐ คู่ พันเทพราช
เกณฑ์ปี่กลองชนะแตรสังข์ แห่เข้าประตูรามสุนทรมาไว้ในโรง ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯให้ปี่พาทย์ไทย ปี่พาทย์รามัญ แลมโหรีไทย มโหรีแขกฝรั่ง มโหรีจีน ญวน
มโหรีมอญเขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช ๒ เดือน ๑๒ วัน” (สุเนตร ชุตินธรานนท์
อ้างถึง ประชุมหมายรับสั่งภาคที่ ๑ สมัยธนบุรี ๒๕๕๕ : ๑๓๙)
สอดคล้องกับหมายก�าหนดการในการสมโภชพระแก้วมรกตที่อาจารย์มนตรี
ตราโมท ได้อ้างถึง โดยเฉพาะในถ้อยค�าที่มีการกล่าวถึง วงดนตรีของไทยและ
ต่างชาติ แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสนพระทัยในการที่จะรวบรวม
ความเป็นปึกแผ่นของสยามในการย้ายมาธนบุรี ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติที่ได้
เข้ามาตั้งแต่ครั้งอยุธยา ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด การอพยพ การค้าขาย เชลยศึก หรือ
การกวาดต้อนผู้คนของผู้ชนะสงคราม ก็ยังคงอาศัยอยู่ต่อเนื่องจนถึงสมัยธนบุรี
การกล่าวถึง วงดนตรีของแต่ละชาติถือว่าเป็นการให้เกียรติแก่ชาวต่างชาติ ให้เข้า
วัฒนศิลปสาร 27