Page 34 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 34
การตัดสินการประกวดขบวนแห่
วราวุธ ผลานันต์*
บทคัดย่อ
ขบวนแห่เป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีต่าง ๆ ของไทยซึ่งนิยมจัดประกวด
เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามเชิงศิลปะการแสดง เพื่อความสนุกสนาน และ
เพื่อความสามัคคีในชุมชน การตัดสินจึงต้องพิจารณาทั้งองค์ประกอบทางศิลปะ
การแสดง และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดประกวด ได้แก่ การจัด
รูปขบวน การร่ายร�า ดนตรีประกอบ การแต่งกาย ความเหมาะสมกับกาลเทศะ และ
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน ส่วนเทคนิคการตัดสินจะต้องมีการแต่งตั้งกรรมการ
ก�าหนดเกณฑ์การให้คะแนนและวิธีการตัดสินร่วมกันให้เกิดความยุติธรรมเป็น
ที่ยอมรับของทุกฝ่าย
สังคมไทยของเรามีประเพณีที่ใช้ขบวนแห่อยู่เป็นจ�านวนมาก เช่น แห่นาค
แห่ขันหมาก แห่ข้าวพันก้อน แห่พระเวสสันดรเข้าเมือง แห่กันหลอน แห่นางแมว
แห่ตาลปัตรพัดยศสมณศักดิ์ แห่พระสงฆ์ แห่พระพุทธรูป แห่กฐิน แห่ผ้าป่า
แห่หมฺรับ (เรณู โกศินานนท์ ๒๕๓๙ : ๕) และมีขบวนแห่ตามประเพณีหลายประเพณี
ที่มีผู้จัดขบวนเข้าร่วมแห่มากมายหลายคณะ จนพัฒนามาเป็นการประกวดขบวน
แห่ เช่น แห่นางสงกรานต์ แห่บั้งไฟ แห่เทียนพรรษา แห่ปราสาทผึ้ง แห่กระทงและ
นางนพมาศ ฯลฯ เมื่อมีการประกวดก็ต้องมีการตัดสิน ในการตัดสินก็ต้องมีหลัก
เกณฑ์ที่น่าเชื่อถือให้เป็นที่ยอมรับของผู้ชมส่วนรวม การก�าหนดหลักเกณฑ์จึงต้อง
มีหลักวิชาให้ยึดถือเพื่อให้ผู้ที่ท�าหน้าที่กรรมการตัดสินได้อย่างสบายใจ และให้ผู้ชม
ยอมรับผลอย่างไร้ความคลางแคลงใจ
กิจกรรมที่มีการตัดสินเรียงล�าดับจากชนะเลิศลงไปนั้น มีค�าที่ใช้เรียกอยู่
สองค�าคือ การแข่งขันค�าหนึ่ง และการประกวดค�าหนึ่ง เมื่อพิจารณาแล้วค�าสองค�า
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
32 วัฒนศิลปสาร