Page 37 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 37

ในการเคลื่อนขบวน การแปรแถวที่ดีต้องรักษาเวลาให้ขบวนเคลื่อนไปอย่างปกติ
          ด้วย ต้องแปรแล้วท�าให้ผู้ชมอยากชมอีก
               ๒. การร่ายร�า ท่าร�าที่เหมาะกับขบวนแห่ อาจสรุปได้ดังนี้

                 ๒.๑ มีความพร้อมเพรียงในการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่ไม่นิยมความอ่อน
          ช้อยเท่าใดนัก นิยมใช้การวาดแขนวาดมือ หมุนแขนหมุนมือ สะบัดแขนสะบัดมือ

          ท่าร่ายร�าที่เปลี่ยนระดับแขนระดับมือ หากท�าได้พร้อมเพรียงจะเกิดความสวยงาม
          น่าชม ถ้าเพิ่มเครื่องประดับแขนเช่น ก�าไล เครื่องประดับมือ เช่น เล็บหรือซวยมือ
          ก็จะเพิ่มความน่าชมได้มากเช่นกัน นอกจากการใช้แขนและมือแล้ว อาจใช้เท้า

          ให้เกิดความน่าชมได้ด้วย เช่น การยกเท้าสูงระดับเดียวกันพร้อมเพรียงกัน การสวม
          ลูกกระพรวนข้อเท้าให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะก็ช่วยให้น่าชมขึ้นได้ไม่น้อย

                 ๒.๒ มีท่าร�าหลากหลาย ไม่ซ�้าซากจนน่าเบื่อหน่าย ท่าร�ามีการพลิกแพลง
          แขนและมือให้เคลื่อนไหวไปซ้ายขวา หน้าหลัง ขึ้นลง เมื่อท�าพร้อมกันทั้งขบวนแล้ว
          ท�าให้ผู้ชมอยากยกมือร�าตาม ในข้อนี้อาจพิจารณาให้คะแนนด้านความอ่อนช้อย

          ของท่าร�า ความถูกต้องด้านนาฏศิลป์ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของท่าร�า
          พื้นบ้านในชุดที่เลือกมาใช้ร�าด้วย เช่น การร�ากันตรึมใช้การหักนิ้วชี้แทนการจีบนิ้ว

          การร�ากลองยาวต้องจีบนิ้วอย่างนาฏศิลป์หลวง การเซิ้งบั้งไฟไม่มีการจีบนิ้วเพราะ
          สวมซวยมือ ฯลฯ
               ซวยมือเป็นภาษาไทยอีสานหมายถึงปลอกเล็บใช้สวมนิ้วมือเวลาฟ้อน

          (พจนานุกรมอีสาน-กลาง ฉบับ มข.-สวอ. ๒๕๓๒ : ๘๔)
                 ๒.๓ มีการเคลื่อนขบวนได้พอเหมาะ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ไม่ท�าให้

          ขบวนแห่หยุดนิ่ง ท่าร�าย�่าเท้าอยู่กับที่ย่อมท�าให้เสียเวลาในการแห่ หากจะมีการก้าว
          ถอยหลังบ้างก็ก้าวถอยน้อยกว่าก้าวหน้า แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่เดินหน้าเร็วเกินไป
          จนผู้ชมเห็นความน่าชมได้น้อยลงไม่คุ้มค่ากับการเสียเวลารอชม

               ๓. ดนตรีประกอบ ดนตรีที่ท�าเพลงประกอบขบวนแห่ควรมีลักษณะดังนี้
                  ๓.๑ จังหวะดี จังหวะ (Rhythm) ได้แก่ จังหวะตบ (Beat) คือจังหวะ

          พื้นฐานที่สม�่าเสมอ จังหวะเน้น (Accented) คือจังหวะที่เป็นกลุ่ม มีหนัก-เบา จังหวะ
          หนักเป็นจังหวะเน้น จังหวะขัด (Syncopation) เป็นกลุ่มจังหวะที่แตกต่างไปจาก


                                                                   วัฒนศิลปสาร  35
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42