Page 35 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 35
นี้มีข้อแตกต่างกันพอสมควร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนควรพิจารณาถึงความหมาย
และลักษณะของค�าทั้งสองดังนี้
แข่งขันและประกวดมีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๒๑๕, ๖๙๙) ว่า แข่งขันเป็นค�ากริยาหมายถึง “ชิงเอาชนะ
เพื่อรางวัล ขันสู้เพื่อเอาชนะกัน” ส่วนประกวดเป็นค�ากริยาเช่นกัน หมายถึง “แข่งขัน
เลือกเฟ้นเอาดี โดยมีการตัดสิน เช่น ประกวดนางงาม ประกวดบทความ” จากนิยาม
นี้จะเห็นถึงความแตกต่างสามารถจ�าแนกได้ ดังนี้
การแข่งขัน เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ที่เป็นปรนัย กล่าวคือ การตัดสิน
แพ้ชนะใช้เกณฑ์ที่เป็นตัวเลข แจงนับได้ เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจจะเป็นเวลา ระยะทาง
น�้าหนัก ปริมาตร ปริมาณ จ�านวนผลงาน เช่น การวิ่งแข่งขัน ๑๐๐ เมตร ผู้ที่ใช้เวลา
น้อยที่สุดเป็นผู้ชนะ การแข่งขันยกน�้าหนัก ผู้ที่ยกน�้าหนักได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ
การแข่งขันกระโดดไกล ผู้ที่กระโดดได้ระยะไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ การแข่งขัน
กินขนมจีน ผู้ที่กินได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ การแข่งขันฟุตบอล ทีมที่ท�าประตูได้มาก
ที่สุดเป็นทีมชนะ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะมีผู้ตัดสินหรือไม่มีก็สามารถเห็นผลได้ว่า
ใครเป็นผู้ชนะ
การประกวด เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ที่เป็นอัตนัย กล่าวคือ
การตัดสินแพ้ชนะใช้เกณฑ์ที่เป็นความรู้สึกเฉพาะบุคคล แจงนับไม่ได้ เป็นนามธรรม
ซึ่งอาจจะเป็นความสวยงาม ความไพเราะ ถือเป็นสุนทรียภาพ ความขบขัน
ความสนุกสนาน ความอร่อย ฯลฯ ซึ่งพจนานุกรมให้นิยามว่าต้องมีกรรมการ
เลือกเฟ้นหาผู้ที่ดีกว่าแล้วจึงตัดสินว่าใครเป็นผู้ชนะ เช่น การประกวดนางงาม
การประกวดชายงาม การประกวดร้องเพลง การประกวดดนตรีพื้นเมือง การประกวด
แกะสลักผลไม้ การประกวดต�าส้มต�า การประกวดกระทง การประกวดเทียนพรรษา
การประกวดขบวนแห่ ฯลฯ
แต่มีกิจกรรมบางประเภทอาจไม่เป็นไปตามนี้ เช่น การกระโดดน�้า ยิมนาสติก
ทั้งที่เป็นเรื่องสุนทรียภาพ แต่ก็ใช้ค�าว่า แข่งขัน ทั้งนี้อาจนับเนื่องมาจากอยู่ในกลุ่ม
กีฬา ซึ่งจัดเป็นการแข่งขันทั้งนั้น ไม่มีกีฬาใดใช้ค�าว่า ประกวด ในท�านองเดียวกัน
การตัดสินผลผลิตทางการเกษตร เช่น การประกวดฟักทอง การประกวดกล้วยหอม
วัฒนศิลปสาร 33