Page 39 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 39
คะแนนเครื่องแต่งกายควรพิจารณาถึงผลรวมของการแต่งกายดังกล่าวทั้งหมด
ซึ่งควรพิจารณาด้านต่าง ๆ ดังนี้
๔.๑ ถูกต้องตามแบบแผนของการแสดง เช่น ร�ากลองยาว หญิงนุ่งซิ่น
ชายนุ่งกางเกงขาสามส่วน ร�าเกี่ยวข้าว หญิงชายนุ่งโจงกระเบน สวมงอบ หญิงสวม
เสื้อแขนกระบอก ชายสวมเสื้อคอกลม เซิ้งบั้งไฟอย่างโบราณใช้ผู้ชายเซิ้งเท่านั้น
นุ่งโสร่งสวมเสื้อคอกลม (โบราณจริง ๆ ไม่สวมเสื้อ) ผ้าขาวม้าโพกศีรษะและ
เบี่ยงบ้ายซ้ายขวาทับด้วยสังวาลสองสายสวมไขว้ตัว สวมซวยมือยาวปลายพู่
แปดนิ้วบ้าง สิบนิ้วบ้าง สีสันสลับกันสดใส ถ้าเป็นฟ้อนเทียนของภาคเหนือผู้ร�าเป็น
หญิงล้วนนุ่งซิ่นลายขวางสวมเสื้อแขนกระบอกห่มสไบ ถ้าเป็นฟ้อนเล็บก็เพิ่ม
สวมเล็บที่นิ้วมือข้างละสี่นิ้ว (วิมลศรี อุปรมัย ๒๕๒๖ : ๘๐) อย่างนี้เรียกว่าเป็นไป
ตามแบบแผน
๔.๒ สีเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายสวยสดงดงาม ควรเป็นสีที่เข้ากันได้หรือ
กลมกลืนกันหรือการใช้สีตัดกันก็ได้ การใช้สีตัดกันจะสวยเด่นแต่ก็ต้องระมัดระวัง
เพราะสีบางสีเมื่อตัดกันแล้วหาความงามได้ยาก สีที่ตัดกันแล้วสวยงาม เช่น เขียว
กับเหลือง เหลืองกับม่วง ขาวกับน�้าเงิน น�้าเงินกับเหลือง ด�ากับแดง แต่ทั้งนี้ขึ้นกับ
ความอ่อนแก่ของสีด้วย การแสดงบางชุดต้องค�านึงถึงสีตามแบบแผนด้วย เช่น
ฟ้อนผู้ไทต้องใช้สีขาวกับน�้าเงิน หรือแดงกับด�าตามธรรมเนียมนิยมของกลุ่ม
ชาติพันธุ์ จะออกแบบสีตามใจชอบไม่ได้
๔.๓ เรียบร้อย ไม่ล่อแหลม และสวยงาม ค�าว่าเรียบร้อยหมายถึงเสื้อผ้า
เข้ารูปทรงของนักแสดง ไม่หลวมไม่คับจนเกินไป ไม่นุ่งสั้นข้างยาวข้าง เก็บชายผ้า
นุ่งให้สวยงาม รัดกุมไม่รุ่มร่าม ในข้อนี้จึงรวมถึงเครื่องประดับด้วยว่าต้องไม่รกตา
ไม่เป็นอุปสรรคต่อการร่ายร�า เป็นต้น ค�าว่าไม่ล่อแหลมคือห่มคลุมปิดบังของพึง
สงวน ทั้งนม พุง สะดือ ขาอ่อน ไม่อุจาดตา เป็นต้น ส่วนค�าว่าสวยงามเป็นภาพรวม
ของการแต่งกายเมื่อครบเครื่องแล้ว และเมื่อนักแสดงอยู่ในกระบวนแล้ว ผู้ชมจะ
เห็นได้ว่านักแสดงคณะใดแต่งกายสวยงามกว่าคณะใด
๕. ความเหมาะสมกับกาลเทศะ การแสดงบางชุดอาจน�าไปใช้กับขบวนแห่
ได้หลาย ๆ งาน มีข้อจ�ากัดน้อย เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนเล็บ ร�ากลองยาว แต่การแสดง
วัฒนศิลปสาร 37