Page 36 - วัฒนศิลปสาร ปีที่ ๑๓ (ตุลาคม ๒๕๖๐ - พฤษภาคม ๒๕๖๑) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
P. 36
ทั้งที่เป็นเรื่องรูปธรรมซึ่งใช้วิธีวัดขนาด ชั่งน�้าหนัก นับจ�านวน แต่ก็ใช้ว่าการประกวด
ทั้งนี้อาจนับเนื่องมาจากผลิตผลดังกล่าวให้สวยงามน่าชมน่าชื่นใจได้ชัดเจน
เนื่องจากการตัดสินการประกวดเป็นเรื่องของสุนทรียภาพ ยากที่จะชั่งน�้าหนัก
วัดขนาด นับจ�านวน นับเวลาให้ผู้ชมเห็นคล้อยตามได้ง่าย ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่จะ
แปรสุนทรียภาพให้เป็นตัวเลข เป็นคะแนนเพื่อให้เปรียบเทียบได้ง่ายขึ้นจึงเป็นวิธี
การที่นิยมน�ามาใช้ตัดสิน การประกวดแต่ละประเภทย่อมมีองค์ประกอบส�าหรับให้
คะแนนแตกต่างกันออกไป
ในการตัดสินการประกวดขบวนแห่ควรพิจารณาให้คะแนนองค์ประกอบต่าง ๆ
คือ การจัดรูปขบวน การร่ายร�า ดนตรีประกอบ การแต่งกาย ความเหมาะสมกับ
กาลเทศะ และวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. การจัดรูปขบวน เนื่องจากเป็นกิจกรรมประกวดขบวนแห่ การพิจารณา
ถึงรูปขบวนจึงควรมาเป็นอันดับแรก รูปขบวนที่น่าชมควรประกอบด้วย จ�านวนคน
ขนาดรูปร่างของคน และการแปรแถว
๑.๑ จ�านวนคน ต้องมีจ�านวนมากพอที่จะท�าให้มองเห็นภาพรวมว่า
รูปแถวเป็นอย่างไร หากต้องการแสดงถึงสีสันเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายด้วยก็จะเพิ่ม
ความน่าชมได้มาก ซึ่งความยากในการออกแบบก็จะเพิ่มตามมาด้วย การพิจารณา
ให้คะแนนจ�านวนคนร่วมขบวนจึงไม่ใช่การนับจ�านวนคนว่ามากให้คะแนนมาก
จ�านวนคนน้อยให้คะแนนน้อยเท่านั้น แต่จะต้องใช้จ�านวนคนที่มากกว่านั้นให้เกิด
ภาพที่สวยงามน่าชมกว่าด้วย
๑.๒ ขนาดรูปร่างของคน รูปร่างของผู้ร�าในขบวนหากมีขนาดเท่า ๆ กัน
ก็จะท�าให้เกิดความสวยงามน่าชมได้ง่าย แต่หากมีข้อจ�ากัดไม่อาจเลือกสรรได้
ก็ต้องใช้วิธีการไล่เรียงล�าดับความสูงต�่า หากมีการแปรแถวก็อย่าให้เห็นว่าความสูง
ต�่านั้นเป็นสิ่งน่าร�าคาญตา ดังนั้นหากเป็นไปได้จึงไม่นิยมเลือกผู้ร�าที่สูงเกินไป
เตี้ยเกินไป อ้วนเกินไป ผอมเกินไป เพราะยากแก่การจัดรูปขบวน
๑.๓ การแปรแถว เป็นวิธีการเพิ่มความน่าชมของขบวนแห่ได้วิธีหนึ่ง เช่น
แปรแถวจากสี่แถวเป็นหกแถว เป็นสามแถว เป็นคลื่น เป็นเกลียว ซึ่งอาจจะใช้สีสัน
ของเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ประกอบการร่ายร�าเป็นเครื่องช่วยในการแปรแถวก็ได้ สิ่งที่
พึงระวังคือ อย่าแปรแถวจนผู้ชมตาลาย อย่าแปรบ่อยจนน่าร�าคาญหรือเสียเวลา
34 วัฒนศิลปสาร